การประกันคุณภาพการศึกษา


การประเมินคุณภาพการศึกษา
                  การนำเสนอผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) การนำเสนอผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาเป็นรายมาตรฐานและ2) การสรุปผลการประเมินของสถานศึกษา ในภาพรวม มีรายละเอียดแต่ละประเด็น ดังนี้
                  1การนำเสนอผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาเป็นรายมาตรฐาน
                  การเขียนผลการประเมินคุณภาพภายในให้นำเสนอเป็นรายมาตรฐาน อาจเขียนเป็นรายข้อ หรือความเรียงให้ครอบคลุมทุกประเด็นพิจารณาของแต่ละมาตรฐาน ประกอบด้วย5หัวข้อ คือ 1) ระดับคุณภาพ 2) กระบวนการพัฒนา 3) ผลการดำเนินงาน 4) จุดเด่น และ5) จุดควรพัฒนา
1.   ระดับคุณภาพ การตัดสินระดับคุณภาพตามมาตรฐานให้สรุปผลการประเมินโดยใช้การพิจารณาผลการดำเนินงานจากความสำเร็จตามประเด็นพิจารณาของแต่ละมาตรฐานแบบองค์รวม (holistic) โดยอาศัยผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญ (expertjudgement)และมีการตรวจทานผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินในระดับเดียวกัน (peer review)มีเกณฑ์การตัดสินคุณภาพมาตรฐาน 4 ระดับ คือ ระดับ 4ดีเยี่ยมระดับ 3 ดี ระดับ 2 พอใช้และระดับ 1 ปรับปรุง
ทั้งนี้ ผลการสรุประดับคุณภาพต้องสอดคล้องกับความสำเร็จที่เกิดขึ้น
2.   กระบวนการพัฒนาให้นำเสนอวิธีการดำเนินงานของสถานศึกษาตามประเด็นพิจารณาของแต่ละมาตรฐาน ทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน การบริหารและการจัดการศึกษา ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ รวมทั้งโครงการ และกิจกรรมต่างๆที่โรงเรียนจัดทำขึ้นตามสภาพที่ปรากฏจริงและส่งผลให้การดำเนินงานตามมาตรฐานนั้นๆ มีคุณภาพ ดังนี้
                  มาตรฐานที่ 1 นำเสนอวิธีการพัฒนาผู้เรียนที่แสดงออกถึงความรู้ ความสามารถ ความก้าวหน้าทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาการพัฒนาด้านการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พัฒนาการจากการสอบวัดระดับชาติ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

                  มาตรฐานที่ 2นำเสนอวิธีการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่ครอบคลุมด้านวิชาการ ด้านครูและบุคลากร ด้านข้อมูลสารสนเทศ และด้านสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาชองสถานศึกษาให้มี     คุณภาพและได้มาตรฐาน
                  มาตรฐานที่ 3นำเสนอกระบวนการ/วิธีการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมตามความถนัด และความสนใจด้วยวิธีการที่หลากหลายสอดคล้องกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ รวมทั้งมีการประเมินผลการเรียนรู้และนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลมาใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
                  มาตรฐานที่ 4 นำเสนอระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบริหารและการจัดการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม มีขั้นตอนที่ชัดเจน ปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายส่งผลให้พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องมีความมั่นใจ พึงพอใจต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
                  3.   ผลการดำเนินงานให้นำผลที่เกิดจากการดำเนินงานของสถานศึกษาตามที่ได้กล่าวไว้ในกระบวนการพัฒนามาเขียนเป็นผลการดำเนินงานของแต่ละมาตรฐาน ให้ชัดเจนครอบคลุมตามประเด็นพิจารณาแต่ละประเด็น เพื่อสนับสนุนผลการตัดสินคุณภาพของมาตรฐาน
                   4.  จุดเด่นให้นำเสนอความสำเร็จของการดำเนินงานที่ส่งผลให้แต่ละมาตรฐานของโรงเรียนประสบความสำเร็จ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกระดับชั้นสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้ ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านการเขียนการสื่อสารและการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้นตามที่โรงเรียนกำหนด เป็นต้น
                   5.  จุดควรพัฒนาให้นำเสนอผลการดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด หรือประเด็นที่คาดว่าหากนำมาดำเนินงานแล้วจะส่งผลให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนแต่ละมาตรฐาน มีคุณภาพเพิ่มขึ้น เช่น ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของระดับชั้นที่สถานศึกษากำหนด สถานศึกษายังไม่มีการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นสถานศึกษายังไม่ดำเนินงานให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นหรือร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นต้น