สรุปองค์ความรู้สัปดาห์ที่ 5

การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
              การออกแบบการเรียนการสอนนาความรู้จากหลายสาขาวิชามาประยุกต์เข้าด้วยกันเป็นข้นตอนกระบวนการเชิงระบบเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดยพื้นฐานแล้ววิธีการเชิงระบบกำหนดให้ต้องระบุว่าจะเรียน อะไร วางแผนการสอนว่าจะยอมให้การเรียนรู้อะไรเกิดขึ้นวัดผลการเรียนรู้เพื่อตัดสินว่า การเรียนรู้นั้นบรรลุตามจดประสงค์หรือไม่และกลั่นกรองตัวสอดแทรก (intervention) จนกระทั่งบรรลุจุดประสงค์ จากลักษณะนี้เองจึงทำให้เกิดแบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป 
การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
            การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพตามที่มาร์ซาโน (Marzano: 2012) ได้นำเสนอกลวิธีการจัดการเรียนการสอนสรุปได้ 3 ส่วน คือ 1) การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Creating the Environme for Learning) ซึ่งกลวิธีในส่วนที่ 1 นี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญให้กับการเรียนรู้ในทุกบทเรียน 
ความสำคัญของการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
            การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล Universal Design for (UDI) คือ แนวทางการสอนที่ประกอบด้วยการออกแบบเชิงรุก และใช้กลวิธีการเรียนรู้การสอบแบบรวม (inclusive instructional strategies) ซึ่งเป็นประโยชน์ของผู้เรียนในวงกว้าง ครูมีบทบาทเป็นผู้ดำเนินการเชิงรุก (proactive) มีความรับผิดชอบ (responsive) และเป็นผู้สนับสนุน (supportive) การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล Universal Design for Instruction : (UDI
การออกแบบที่เป็นสากลในการเรียนการสอน
               การนำแนวคิด UD มาใช้โดยเป็นการประยุกต์เพื่อการตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน ความต้องการหลากหลาย โดยมีหลักการว่า UD นั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจว่า ผู้เรียนแต่ละลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน และมีความต้องการที่แตกต่างกันด้วน ซึ่งการนำ UD ไปใช้ในการศึกษาสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนในแต่ละคน และส่งเสริมผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองได้เต็มที่ตามศักยภาพ 
การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล
               แนวคิด Universal Design เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ การออกแบบมุ่งที่การใช้งานให้คุ้มค่าครอบคลุมสำหรับผู้เรียนทุกคน โดยคำนึงถึงโอกาสในการใช้งานอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นการนำแนวคิดการออกแบบการเรียนรู้สากล มาใช้ในจึงสามารถช่วยลดอุปสรรคต่อการเรียนของผู้เรียนได้
ความสำคัญของการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล
              การออกแบบที่เป็นสากลเพื่อการเรียนรู้จึงเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ
ระดับในการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล
 การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล จัดเป็น 3 ระดับ ดังนี้
           ระดับที่ 1 การนำเสนอการจัดการเรียนรู้ตามหลักการการออกแบบที่เป็นสากลเพื่อการเรียนรู้ (UDL) ควรใช้รูปแบบนำเสนอที่หลากหลายวิธี 
            ระดับที่ 2 การสื่อสาร การให้ผู้เรียนได้แสดงออกในการเรียนรู้ ซึ่งมีหลากหลายวิธีการ 
            ระดับที่ 3 การมีส่วนร่วม เป็นการเสริมสร้างแรงจูงใจ 
แบบการเรียนรู้
เรียนตามแบบการเรียนรู้ได้ 6 แบบ คือ
1.    แบบอิสระ (Independent Style
2.    แบบหลีกเลี่ยง (Avoidance Style)
3.    แบบร่วมมือ (Collaboration Style
4.     แบบพึ่งพา (Dependent Style)  
5.     แบบแข่งขัน (Competitive Style

6.   แบบมีส่วนร่วม (Participant Style
แบบการสอน
             แบบการสอน (Styles of teaching) เป็นการแสดงคุณค่าของครูแต่ละคน เป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่ ท้าให้ครูคนหนึ่งแตกต่างไปจากครูคนอื่นๆ ประกอบด้วยการแต่งกาย ภาษา เสียง กริยาท่าที่ ระดับพลัง การแสดงออกทางสีหน้า แรงจูงใจ ความสนใจในบุคลอื่น ความสามารถในการแสดงเชาว์ปัญญาและความคง 
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้
กลยุทธ์การสอนที่มีประสิทธิการสอนที่มีประสิทธิภาพตามแนวคิดของ Marzano
            ให้ชัดเจนตาการตั้งจุดมุ่งหมาย / จุดประสงค์ (Setting objectives)  
            การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Providing Feedback)
            การให้การเสริมแรง (Reinforcing Effort)
            การให้การยอมรับ (Providing Recognition
            การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning
            การใช้การแนะนำและคำถาม (Cues and Questions)
            การให้มโนทัศน์ล่วงหน้า (Advance Organizers)
            การใช้ภาษากายแสดงออก(Nonlinguistic Representations
            สรุปและจดบันทึก (Summarizing and note taking)
            การให้การบ้าน (Assigning Homework)
            การให้ฝึกปฏิบัติ (Providing Practice)
            การบอกความเหมือนและความแตกต่าง (Identifying Similarity

            การสร้างและทดสอบสมมติฐาน (Generating and testing Hypotheses)