บทที่ 6 การบูรณาการความรู้


บทที่ 6 การบูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge)
            I : การบูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge) การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ในการจัดเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated learning Management)  เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์โดยเชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติ
            การบูรณาการความรู้หมายถึงการ โยงความรู้หรือการสร้างความสัมพันธ์และรวมแนวคิดเป็นหนึ่งเดียวในสถานการณ์ต่าง ๆ การบูรณาการทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นความรู้ที่ ลุ่มลึกและยั่งยืน การบูรณาการความรู้เป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะในยุคที่มีความรู้ ข้อมูล ข่าวสารมาก การบูรณาการความรู้อาจเขียนเป็นลำดับความสัมพันธ์ได้ดังนี้ เริ่มจาก ข้อมูล (data)  สารสนเทศ (information)  ความรู้ (Knowledge)  ปัญญา (wisdom)  เป้าหมายหลักของการเรียนคือเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งที่ถือว่าสำคัญในเรื่องที่กำหนดหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเพื่อแสวงหาและรวบรวมความรู้ นวัตกรรมด้านการศึกษาจำนวนมากไม่สนใจความสำคัญของความรู้ด้านเนื้อหา แต่นักเรียนที่เรียนแบบบูรณาการความรู้ โดยการสำรวจการจัดจำแนก การจัดการ และการสังเคราะห์ความคิดและข้อมูลสารสนเทศเพื่อประเมินประสบการณ์และแก้ปัญหาบรรจุอยู่ในหลักสูตรเรียกว่า หลักสูตรบูรณาการ (Integrated Curricula) โดยนำความคิดหลักในวิชามาสัมพันธ์กันเป็นการเชื่อมโยงในแนวนอน ระหว่างหัวข้อ และเนื้อหาต่าง ๆ ที่เป็นความรู้ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ พุทธิพิสัยทักษะพิสัยและจิตพิสัยและสัมพันธ์กับวิชาอื่นด้วย
แนวการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการ
            พัฒนาผู้เรียนตามความสามารถที่แตกต่างขนาผู้เรียนตามความสามารถที่แตกต่างกันจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถทุกด้าน-ของการ์ดเนอร์ (Gardner อ้างในวิชัยวงษ์ใหญ่, 2542: 8-11) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้นำเสนอทฤษฎีพหุปัญญา (multiple intelligence theory) สรุปได้ว่าผู้เรียนมีความสามารถทั้ง 8 ด้านคือด้านภาษาศาสตร์ด้านภาพมิติสัมพันธ์ค้านร่างกายและการเคลื่อนไหวด้านดนตรีด้านมนุษย์สัมพันธ์ภาพธรรมชาติการเสริมสร้างความเก่งหรือศักยภาพความสามารด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตัวผู้เรียนผู้สอนจะต้องเข้าใจผู้เรียน รู้ถึงความถนัดความความสามารถในการเรียนรู้ที่หลากหลาย ในการเรียนรู้ด้านตรรกและคณิตศาสตร์ด้านภาพมิติสัมพันธ์ค้านร่างกายและการด้านการเข้าใจตนเองและด้านความเข้าใจสภาพธรรมชาติการเสริมสร้างความเก่งหลากหลาย ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อจะกระตุ้นความสามารถด้านแต่ความเด่นชัดปรากฎออกมาด้วยความรู้ความเข้าใจผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจประเมินจากผลการเรียนรู้ของผู้เรียนการพัฒนา
ความสามารถผู้สอนจึงมีหน้าที่ค้าต้นความสามารถด้านต่าง ๆ ผู้เรียนว่าเห็นและต้อยในเรื่องสยบให้พัฒนาไปให้เต็มศักยภาพของตน
            แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ. ศ. 2542 มาตรา 23 ระบุว่าการมาต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้คุณธรรมกระบวนการเรียนรู้และบูรณาการซึ่งวิชัย วงษ์ใหญ่ (2547: 2) กล่าวว่าการบูรณาการ คือการผสมผสานที่กลมกลืนกันอย่างมีคุณภาพ ระหว่างองค์ประกอบหรือ ปัจจัยต่าง ๆทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่มีเป้าหมายตรงกัน เพื่อให้ได้มาสิ่งใหม่หรือสภาพใหม่ที่มีคุณค่าและสมบูรณ์แบบโดยมีอัตราส่วนผสมที่เรรมและนามธรรมที่มีเป้าหมายตรงกันโดยมีอัตราส่วนผสมที่มอบหมายภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและด้วยวิธีการที่มีสิทธิภาพจะได้ประโยชน์จากการบูรณาการสู่ชีวิตและการเรียนรู้
            การบูรณาการการเรียนรู้ คือ การเชื่อมโยงระหว่างสาขาวิชาต่าง ๆในหลักสูตร จะช่วยให้ผู้เรียนตระหนักว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้ มีประโยชน์และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ลักษณะการเรียนรู้จะจัดเป็นหน่วยการเรียนรู้หรือเป็นหัวเรื่อง
            หน่วยบูรณาการ thematic approach จะกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คือ
                        -ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความหมาย
                        -เกิดองค์ความรู้ ความคิดแบบองค์รวม พัฒนาความสามารถการคิด
                        -เห็นความเชื่อมโยง นำไปสู่ความสามารถในการแก้ปัญหาแบบองค์รวม
                        -เกิดประสบการณ์ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
                        -ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ของตนเอง
            วิชัย วงษ์ใหญ่ (2547: 4) กล่าวสรุปไว้ว่าลักษณะการบูรณาการ 4 แบบคือ
                        1. การสอดแทรก (infusion) การบูรณาการแบบเชื่อมโยงโดยผู้สอนคนเดียว วิธีการสอดแทรกนี้ผู้สอนวิชาใดวิชาหนึ่งนำวิชาอื่น ๆ มาบูรณาการกับวิชาที่ตนสอนและสามารถเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงกับหัวเรื่องชีวิตจริงหรือภาระการเรียนรู้ที่กำหนดขึ้นมา
                        2. คู่ขนาน (parallel) วิธีการคู่ขนานผู้สอนหลายคนมาจากหลายวิชามาวางแผนร่วมกัน เพื่อรวมองค์ประกอบของหัวเรื่อง (theme) มโนทัศน์ concept) หรือปัญหา (problem) แล้วผู้สอนแต่ละคนแต่ละวิชาแยกกันและการกำหนดชิ้นงานขึ้นอยู่กับผู้สอนแต่ต้องสะท้อนถึงหัวเรื่องแนวคิดหรือปัญหาที่กำหนดไว้รวมกันการบูรณาการแบบคู่ขนานในการสอนผู้สอน อาจตกลงกันว่าจะยึดเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่สอดคล้องกับการพัฒนาสังคมและชีวิตที่มีการเชื่อมโยงคู่ขนาน เช่น ผู้สอนวิทยาศาสตร์จะสอนเรื่องเงาผู้สอนศิลปะอาจจะให้ผู้เรียนรู้เทคนิคการวาดรูปที่มีเงา
                        3. พหุวิทยาการ (multidisciplinary) วิธีการพหุวิทยาการผู้สอนหลายคนมาจากหลายสาขาวิชามา191แผนร่วมกันที่จะสอนเกี่ยวกับหัวเรื่อง (theme) มโนทัศน์ concept) หรือปัญหา (Problem) และกำหนดกรวมของโครงการ ร่วมกันให้ออกมาเป็นชิ้นงานแบ่งโครงการออกเป็นโครงการย่อยการบูรณาการในหลาย ๆ สาขาวิชาสามารถวางแผนสร้างสรรค์โครงการของตนเองขึ้นมาได้โดยใช้เวลาการเรียนต่อเนื่องได้หลายชั่วโมง
                        4. การข้ามวิชาหรือการสอนเป็นทีม (transdisciplinary) วิธีการข้ามวิชาหรือสอนเป็นที่แต่ละรายวิชามาวางแผนร่วมกันในองค์ประกอบของ หัวเรื่อง (theme) มโนทัศน์ (concept) หรือ problem) กำหนดเป็นโครงการขึ้นมาและร่วมกันสอนเป็นคณะ
            กรมวิชาการ (กองวิจัยทางการศึกษากรมวิชาการ, 2545: 6-7) เสนอแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการไว้ดังนี้
                        1.การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว เป็นการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนหนึ่งคนมีการเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ กับชีวิตจริง หรือการเชื่อมโยงสาระและกระบวนการเรียนรู้ภายในกลุ่มสาระต่าง ๆ เช่น การอ่าน การเขียน คิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความรู้ความจริงจากหัวข้อเรื่องที่กำหนด
                        2.การบูรณาการแบบคู่ขนาน เป็นการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนสองคนขึ้นไปร่วมกันจัดการเรียนการสอนโดยยึดหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง เช่น ครูคนหนึ่งสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ส่วนครูอีกคนหนึ่งสอนวิชาคณิตศาสตร์ ในการสอนเรื่อง“ น้ำ” สถานะต่าง ๆ ส่วนวิชาคณิตศาสตร์อาจสอนการวัดปริมาตรหรือน้ำหนักของน้ำวิชาวิทยาศาสตร์อาจสอนเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำ
                        3. การบูรณาการแบบสหวิทยาการ เป็นการจัดการเรียนการสอนจากการนำเนื้อหาจากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงและจัดการเรียนการสอนร่วมกันในเรื่องเดียวกัน เช่น ในวันสิ่งแวดล้อมจัดการเรียนการสอนให้เรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาและวิชาสุขศึกษาให้เรียนรู้โดยทำกิจกรรมชมรมสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นต้น
                        4. การบูรณาการแบบโครงการ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันสร้างสรรค์โครงการ และใช้เวลาเรียนต่อเนื่องกันได้หลายชั่วโมง โดยการนำจำนวนชั่วโมงของแต่ละรายวิชาที่เคยแยกกันอยู่ ที่เคยแยกกันสอน มารวมเป็นเรื่องเดียวกันกำหนดเป้าหมายเดียวกัน ในลักษณะของการสอนเป็นทีม ถ้าต้องการเน้นทักษะเฉพาะก็สามารถแยกกันสอนได้ เช่น กิจกรรมเข้าค่ายภาษาอังกฤษกิจกรรมค่ายศิลปะเป็นต้น
                        วิชัย  วงษ์ใหญ่ (2547: 5) สรุปภาพรวมของรูปแบบเรียนการสอนแบบการบูรณาการ 3 การประเมินผลและผลการเรียนรู้ไว้ดังนี้
ตารางที่ 22 รูปแบบการบูรณาการ วิธีการ/กิจกรรม การประเมิน และผลการเรียนรู้
การบูรณาการ
วิธีการ / กิจกรรม
การประเมิน
ผลการเรียนรู้
สอดแทรก
ผู้สอนกำหนดหัวเรื่องและสอดแทรกสาระจากวิชาอื่น ๆ เข้ามาในวิชาของตามตนและมอบหมายงานตามที่กำหนด
ประเมินจากงานที่มอบหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาและเรียนรู้อย่างมีความหมาย
คู่ขนาน
ผู้สอนหลายคนวางแผนร่วมกันโดยกำหนดหัวเรื่อง ความคิดรวบยอด ปัญหา สถานการณ์ ผู้สอนในวิชาของตนภายในหัวเรื่องเดียวกัน
ประเมินโครงงานและชิ้นงานที่มอบหมายตามที่เกณฑ์กำหนด
ผู้เรียนสามาถนำความรู้จากวิชาต่าง ๆ มาสร้างสรรค์งานได้และเรียนรู้อย่างมีความหมาย
พหุวิทยาการ
ผู้สอนหลายคนวางแผนร่วมกัน โดยกำหนดหัวเรื่องความคิดรวมยอด ปัญหา สถานการณ์ แล้วผู้สอนแตกละคนต่างแยกกันสอน ภายใต้หัวเรื่องเดียวกัน
ประเมินโครงงานและชิ้นงานที่มอบหมายตามที่เกณฑ์กำหนด
ผู้เรียนสามาถนำความรู้จากวิชาต่าง ๆ มาสร้างสรรค์งานได้และเรียนรู้อย่างมีความหมาย มีประสบการณ์
สอนเป็นทีมหรือข้ามวิชา
ผู้สอนหลายคนวางแผนร่วมกัน โดยกำหนดหัวเรื่องความคิดรวมยอด ปัญหา สถานการณ์ สาระ จุดประสงค์ โดยร่วมกันสอนเป็นทีมในเรื่องเดียวกันตามแผนจัดการเรียนรู้ที่กำหนดให้ผู้เรียนกลุ่มเดียวกัน ผู้สอนกำหนดโครงการชิ้นงานให้ผู้เรียนทำร่วมกันเป็นชิ้นงานใหญ่
ประเมินโครงงานและชิ้นงานที่มอบหมายตามที่เกณฑ์กำหนด
ผู้เรียนสามาถนำความรู้จากวิชาต่าง ๆ นำความรู้มาสร้างสรรค์โครงงาน ชิ้นงานได้ และเรียนรู้อย่างมีความหมาย มีประสบการณ์ มีศักภาพในการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
            เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตัวเอง
            การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เรียนรู้ โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลสื่อและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆโดยใช้กระบวนการต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และผู้เรียนมีโอกาสนำความไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น คำถามคือ ผู้สอนจะมีวิธีการหรือเทคนิคที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์นั้น ๆได้อย่างไรผู้สอนทั่วไปยังเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเข้าใจว่าการให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเองคือ การปล่อยให้ผู้เรียน เรียนรู้กันเอง โดยที่ผู้สอนไม่ตองมีบทบาทอะไรหรือใช้วิธีสั่งให้ผู้เรียนไปที่ห้องสมุด อ่านหนังสือกันเองแล้วเขียนรายงานมาส่งซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องแม้ว่าการให้การเรียนรู้เกิดขึ้นที่ตัวผู้เรียน เป็นลักษณะที่ถูกต้องของ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแต่การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ขึ้นมาได้เองนั้นเป็นเรื่องยากผู้สอนจึงต้องมีหน้าที่เตรียมจัดสถานการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ นำทางไปสู่การเรียนรู้ โดยไม่ใช้วิธีบอกความรู้โดยตรง หรือถ้าจะจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้โดยใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งข้อมูล ผู้สอนจะต้องสำรวจให้รู้ก่อนว่าภายในห้องสมุดมีข้อมูลอะไรอยู่บ้าง อยู่ที่ใดจะค้นหาอย่างไร แล้วจึงวางแผนสังการผู้เรียนต้องรู้เป้าหมายของการค้นหาจากคำสั่งที่ผู้สอนให้รวมถึงการแนะแนวทางที่จะทำงานให้สำเร็จและในขณะที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติผู้สอนควรสังเกตการณ์อยู่ด้วยเพื่ออำนวยความสะดวกนำข้อมูลนั้นมาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอบในครั้งต่อไป
            เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น
            ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของผู้สอนประการหนึ่ง คือ ผู้สอนเข้าใจว่าการจัดการเรียนการสอนแบบน้ต้องจัดโต๊ะเก้าอี้ให้ผู้เรียน ได้นั่งรวมกลุ่มกันโดยไม่เข้าใจว่าการนั่งรวมกลุ่มนั้นทำเพื่ออะไร ความเข้าใจที่ถูกต้องคือ เมื่อผู้เรียนจะต้องทำงานร่วมกันจัดเก้าอี้ให้นั่งรวมกันเป็นกลุ่มไม่ใช่นั่งรวมกลุ่มกันแต่ต่างคนต่างทำงานของตัวเองการจัดให้ผู้เรียนร่วมกันผู้สอนจะต้องกำกับดูแลให้สมาชิกในกลุ่ม ทุกคนมีบทบาทในการทำงานซึ่งรูปแบบการจัดการการสอนประเภทหนึ่งที่ ผู้สอนควรศึกษาเป็นแนวทาง นำไปใช้เป็นเทคนิคในการจัดกิจกรรมคือรูปแบบจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกัน (Cooperative Learning)
            วิทยากรเชียงกูล (2549) ได้กล่าวถึงลักษณะการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเรียนเป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ๆกลุ่มละ 4-5 คนโดยสมาชิกในกความสามารถแตกต่างกัน สมาชิกทุกคนมีบทบาทหน้าที่ร่วมกัน ในการปฏิบัติงานที่ได้รับมาเป้าหมายและมีโอกาสได้รับรางวัลของความสำเร็จร่วมกันวิธีการแบบนี้ผู้เรียนจะมีโอกาสสร้างเคยให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกัน วิธัการแบบนี้ผู้เรียนจะมีโอกาสสร้างสัมพันธ์ร่วมกันในเชิงบวก มาปฏิสัมพันธ์แบบได้พัฒนาทักษะทางสังคมและได้ให้เชิงบวกมาปฏิสัมพันธ์แบบเผชิญหน้ากันได้มีโอกาสรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่มนะทางสังคมและได้ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานเพื่อสร้างความรู้ให้กับตนเอง
            เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
            ตามความหมายของการเรียนรู้ที่แท้จริง คือผู้เรียนต้องมีโอกาสนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปใช้ในการดำเนินชีวิต สิ่งที่เรียนรู้กับชีวิตจริงจึงต้องเป็นเรื่องเดียวกัน ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ความรู้ได้โดยสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนต้องแก้ปัญหาและนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้หรือนแสดงความรู้นั้นออกมาในลักษณะต่าง ๆ เช่นให้วาดภาพแสดงรายละเอียดที่เรียนรู้จากการอ่านบทแอพันธ์ในวิชาวรรณคดีเมื่อผู้สอนได้สอนให้เข้าใจโดยการตีความและแปลความแล้ว หรือในวิชาที่มีเนื้อหาของบารปฏิบัติเมื่อผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แล้วผู้สอนควรให้ผู้เรียนได้ฝึกให้ท่างานปฏิบัติซ้ำอีกครั้งเพื่อให้เกิดความชำนาญ
            ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้นี้ผู้สอนควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนแสดงความสามารถในลักษณะต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความสามารถเฉพาะที่ผู้เรียนแต่ละคนมีแตกต่างกัน นอกจากการใช้เทคนิคการออกคำสั่งให้ผู้เรียนแสดงการทำงานในลักษณะต่าง ๆแล้ว ผู้สอนอาจใช้วิธีการสอนบางวิธีที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้ในสถานการณ์อื่น ๆได้เช่นกัน         ตัวอย่างวิธีสอนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ผู้สอนเป็นผู้กำกับควบคุมให้ผู้เรียนทุกคนได้ร่วมกันวางแผนดำเนินการตามแผนและร่วมกันสรุปผลงานผู้เรียนแต่ละคนจะได้เลือกและแสดงความสามารถที่ตนเองถนัดเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายจึงสามารถกล่าวขยายความได้ว่าการเรียนรู้โดยใช้โครงงานซึ่งสามารถทำอย่างต่อเนื่องกันได้โดยมีประเด็นดังนี้   
            1. ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ตนเองสนใจ
            2. ผู้เรียนได้เรียนรู้หรือหาคำตอบด้วยตนเองโดยการคิดและปฏิบัติจริง
            3. วิธีการหาคำตอบมีความหลากหลายจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
            4. นำข้อมูลหรือข้อความรู้จากการศึกษามาสรุปเป็นคำตอบหรือข้อค้นทบของตนเอง
            5. มีระยะเวลาในการศึกษาหรือแสวงหาคำตอบพอสมควร
            6. คำตอบหรือข้อค้นพบเชื่อมโยงต่อการพัฒนาความรู้ต่อไป
            7. ผู้เรียนมีโอกาสเลือกวางแผนและจัดการนำเสนอคำตอบของปัญหาหรือผลของการค้นพบด้วยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของตนเอง
            การบูรณาการตามตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการศึกษา
            สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2553 หน้า 119-128) การบูรณาการตามตัวชี้วัดการคุณภาพการศึกษามีลักษณะดังนี้ (อ้างถึงในสำนักบริการวิชาการและจัดหารายได้มหาวิทยาลัยรามกำแพงเพชร http: / / as.kpru.ac.th /asr/images/FilesUpload /Gather-knowledge-of-document 59. pdf)
            1. การบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนมีการบูรณาการดังนี้
                        1. 1 กรณีที่นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเป็นทีมวิจัยของอาจารย์โดยอาจารย์ มีงานวิจัยในลักษณะชุดโครงการวิจัยที่เป็นร่มใหญ่และมีงานวิจัยย่อย ๆโดยนักศึกษาเข้าเป็นทีมในการวิจัยของอาจารย์ในชุดย่อยและมีอาจารย์ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการชุดใหญ่ ให้คำแนะนำปรึกษา นักศึกษาจะได้ฝึกฝนกระบวนการวิจัยตั้งแต่ต้นจนจบทำให้นักศึกษาเกิดทักษะในกระบวนการทำวิจัย
                         1. 2 กรณีที่นักศึกษาปริญญาตรีทำโครงการวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของอาจารย์ เป็นการออกแบบการเรียนการสอนด้วยการมอบหมายงานนักศึกษาในรูปแบบที่เป็นองค์ประกอบงานวิจัยโดยมีอาจารย์ควบคุมการดำเนินงานเป็นระยะ ๆ แต่มิใช่รายวิชาวิจัยหรืออาจารย์มีโครงการวิจัยและให้นักศึกษาร่วมเป็นทีมการทำวิจัยที่มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจนหรือให้นักศึกษาเป็นผู้ช่วยนักวิจัยในโครงการวิจัย (Under Study Concept) ที่มีแผนการวิจัยชัดเจนว่านักศึกษามีส่วนร่วมในกระบวนการใดบ้าง เช่น การทบทวนเอกสาร การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งวิธีนี้ต่างจากวาแรกที่นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการทำวิจัยครบทุกขั้นตอน แต่วิธีที่สองนี้ นักศึกษาได้เรียนรู้บางส่วนของการวิจัยเท่านั้น ดังนั้นอาจารย์ควรดำเนินการเพิ่มเติมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ครบ
                         1. 3 กรณีที่นักศึกษาทุกระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกเข้าฟังการบรรยายสัมมนา เกี่ยวกับผลความก้าวหน้าในงานวิจัยของอาจารย์ หรือ เข้าร่วมการจัดแสดงงานสร้างสรรค์อาจารย์เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์โดยตรงจากผู้เชี่ยวชาญ แต่วิธีการนี้นักศึกษาต้องมีคำ "การเข้าร่วมงานอาจทำให้นักศึกษาเข้าร่วมงานได้บางส่วนเท่านั้น อาจารย์ ควรมอบหมายงานให้ผู้ร่วมงานสรุปสิ่งที่ได้จากการเข้ารับฟังการบรรยายหรือสัมมนาเกี่ยวกับการวิจัย และนำมาร่วมแสกาเรียนรู้ร่วมกัน
                        1. 4 จัดให้มีการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยหรือเสดงงานสร้างสรรค์ของน" ส่งเสริมนักศึกษาเข้าร่วมประชุมการเสนอผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ระดับชาติและนานาชาติ
                        1. 5 การส่งเสริมให้อาจารย์นำผลลัพธ์ที่เกิดจากการวิจัยไปเป็นส่วนหนึ่ง ของจัดการเรียนการสอน หมายถึงอาจารย์มีผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับกับรายวิชาที่สอนและนายข้อค้นพบจากงานวิจัยมาใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอนเพราะการวิจัยทำให้มีการค้นพบความรู้ไหม ๆ
            2. การบูรณาการงานบริการแก่สังคม การบริการวิชาการหมายถึง กิจกรรมหรือโครงการให้บริการแก่สังคมภายนอกสถาบันหรือเป็นการให้บริการที่จัดในสถาบันแต่ต้องเป็นการจัดให้กับกของการบริการวิชาการมีดังนี้ประเภทให้เปล่าโดยไม่มุ่งเน้นผลกำไร เป็นลักษณะงานอกิจกรรมที่จัดเพื่อบริการสังคมโดยมหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณและ หรือมีองค์กรสนนในการลงทุนสำหรับการจัดกิจกรรมและให้ผู้ใช้บริการหรือผู้ร่วมกิจกรรมในการออกจ่ายด้วยอีกส่วนหนึ่งและประเภทหารายได้เป็นลักษณะงานบริการวิชาการหรือกิจกรรมที่จัดเพื่อบริการบุคคล / กลุ่มบุคคล / องค์กรภาครัฐและเอกชนโดยผู้เข้าอบรมต้องเสียค่าใช้จ่าย (งานบริการวิชาการมหาวิทยาลัยมหิดล, 2556) ในการบูรณาการวิชาการแก่สังคมสามารถดำเนินการได้ดังนี้
                         2. 1 การบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนเป็นการจัดกระบวนการเรียนการสอนปกติ และมีการกำหนดให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้รับจัดทำเป็นโครงการหรือกิจกรรมไปบริการวิชาการให้กับบุคคลภายนอก
                        2. 2 การบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการวิจัยเป็นการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์หรือการนำความรู้ประสบการณ์จากการบริการวิชาการกลับมาพัฒนาต่อยอดความรู้ใหม่โดยผ่านกระบวนการวิจัย
            3. การบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอน สถาบันควรสนับสนุนให้มีการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไปบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน คือมีการจัดการเรียนการสอนที่นำการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไปผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการลอนเมื่อมีการบูรณาการกำหนดให้มีการประเมินความสำเร็จของการบูรณาการและมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมการจัดการเรียนการสอนการเรียนการสอน
การเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการ
            นักการศึกษาไทยได้พยายามที่จะเสนอแนวคิดเพื่อการพัฒนาการศึกษาและการเรียนการสอนของแยตลอดมา ในหนังสือนี้ได้ประมวลแนวคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมานำเสนอ ได้แก่
             1. กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดยสาโรชบัวศรี
            2. กระบวนการกัลยาณมิตรโดยสุมนอมรวิวัฒน์
            3. กระบวนการทางปัญญาโดยประเวศวะสี
             4. กระบวนการคิดโดยชัยอนันต์สมุทวณิช
            5. กระบวนการคิดโดยเกรียงศักดิ์เจริญวงศ์ศักดิ์
            6. มีดีการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยทิศนาแขมมณีและคณะ
            7. กระบวนการสอนค่านิยมและจริยธรรมโดยโกวิทประวาลพฤกษ์
            8. กระบวนการต่าง ๆโดยกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ
                        8. 1 ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
                        8. 2 กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
                        8. 3 กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
                        8. 4 กระบวนการแก้ปัญหา
                        8. 5 กระบวนการสร้างความตระหนัก
                        8. 6 กระบวนการปฏิบัติ
                        8. 7 กระบวนการคณิตศาสตร์
                        8. 8 กระบวนการเรียนภาษา
                        8. 9 กระบวนการกลุ่ม
                        8. 10 กระบวนการสร้างเจตคติ
                        8. 11 กระบวนการสร้างค่านิยม
                        8. 12 กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ
            1. กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดย สาโรช บัวศรี
            สาโรช บัวศรี (2526) มีนักศึกษาไทยผู้มีชื่อเสียงและประสบการณ์สูงในวงการศึกษาท่านนี้เป็นผู้ริเริ่มจุดประกายความคิดในการนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการเรียนการสอนมานานกว่า 20 ปีมาแล้วโดยการประยุกต์หลักอริยสัจ 4 อันได้แก่ทุกข์สมุทัยนิโรธและมรรคมาใช้เป็นกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้ควบคู่กับแนวทางปฏิบัติที่เรียกว่า“ กิจในอริยสัจ 4” อันประกอบด้วยปริญญา (การกำหนดรู้) ปหานะ (การณะสัจฉิกิริยาการทำให้แจ้ง) และภาวนา (การเจริญหรือการลงมือปฏิบัติ) จากหลักทั้งสองท่านได้เสนอแนะการสอนกระบวนการแก้ปัญหาไว้เป็นขั้นตอนดังนี้
                        1. ขั้นกำหนดปัญหา (ขั้นทุกข์) คือการให้ผู้เรียนระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข
                        2 ขั้นตั้งสมมติฐาน (ขั้นสมุทัย) คือการให้ผู้เรียนวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาตั้งสมมติฐาน
                        3. ขั้นทดลองและเก็บข้อมูล (ขั้นนิโรธ) คือการให้ผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานและเก็บรวบรวมข้อมูล
                        4.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล (ขั้นมรรค) คือการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุป
            2. กระบวนการกัลยาณมิตรโดยสุมน อมรวิวัฒน์
            สุมน อมรวิวัฒน์ (2524: 196 199) ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง สาขาการศึกษาคณะครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกิตติเมธีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช ได้อธิบายกระบวนการขยาณมิตรไว้ว่า เป็นกระบวนการประสานสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือ 1. ชีทางบรรเทาทุกข์ 2. ชีสุขเกษมศานต์กระบวนการกัลยาณมิตรใช้หลักการที่แล้วว่าเป็นหลักที่ช่วยให้คนพ้นทุกข์ได้คือหลักอริยสัจ 4 มาใช้ควบคู่กับหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ในการจัดการเรียนการสอนซึ่งมีกระบวนการหรือขั้นตอน 8 ขั้นด้วยกันดังนี้
                        2. 1 หาสร้างความไว้ใจตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ได้แก่ การที่ผู้สอนวางตนให้เป็นที่น่าเคารพรักเป็นที่พึ่งแก่ผู้เรียนได้มีความรู้และฝึกหัดอบรมและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอสามารถสื่อสารชี้แจงให้ศิษย์เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งมีความอดทนพร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาและมีความตั้งใจสอนด้วยความเมตตาช่วยให้ผู้เรียนพ้นจากทางเสื่อม
                        2. 2 การกำหนดและจับประเด็นปัญหา (ขั้นทุกข์)
                        2. 3 การร่วมกันคิดวิเคราะห์เหตุของปัญหา (ขั้นสมุทัย)
                        2. 4 การจัดลำดับความเข้มของระดับปัญหา (ขั้นสมุทัย)
                        2. 5 การกำหนดจุดหมายหรือสภาวะพ้นปัญหา (ขั้นนิโรธ)
                        2. 6 การร่วมกันคิดวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการแก้ปัญหา (ขั้นนิโรธ)
                        2. 7 การจัดลำดับจุดหมายของ "ระพ้นปัญหา (ขั้นนิโรธ)
                        2. 8 การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาตามแนวทางที่ถูกต้อง (ในมรรค)
            3. กระบวนการทางปัญญา โดย ประเวศ วะสี
            ประเวศ วะสี (2542) นักคิดคนสำคัญของประเทศไทยผู้มีบทบาทอย่างมากในการกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้นท่านได้เสนอกระบวนการทางปัญญาซึ่งควรฝึกฝนให้แก่ผู้เรียนประกอบด้วยขั้นตอน 10 ขั้นดังนี้
                        3.1 ฝึกสังเกตให้ผู้เรียนมีโอกาสสังเกตสิ่งต่าง ๆให้มากให้รู้จักสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว
                        3. 2 ฝึกบันทึกให้ผู้เรียนสังเกตสิ่งต่าง ๆ และจดบันทึกรายละเอียดที่สังเกตเห็น
                        3. 3 ฝึกการนำเสนอต่อที่ประชุมเมื่อผู้เรียนได้ไปสังเกตหรือทำอะไรหรือเรียนรู้อะไรมาให้ฝึกนำเสนอเรื่องนั้นต่อที่ประชุม
                        3. 4 ฝึกการฟังการฟังผู้อื่นช่วยให้ได้ความรู้มากผู้เรียนจึงควรได้รับการฝึกให้เป็นผู้ฟังที่ดี
                        3. 5 ฝึกปุจฉาวิสัชนาให้ผู้เรียนฝึกการถาม-การตอบซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความแจ่มแจ้งในเรื่องที่ศึกษารวมทั้งได้ฝึกการใช้เหตุผลการวิเคราะห์และการสังเคราะห์
                        3. 6 ฝึกตั้งสมมติฐานและตั้งคำถามให้ผู้เรียนฝึกคิดและตั้งคำถามเพราะคำถามเป็นสำคัญในการได้มาซึ่งความรู้ต่อไปจึงให้ผู้เรียนฝึกตั้งสมมติฐานและหาคำตอบ
                        3. 7 ฝึกการค้นหาค่าตอบเมื่อมีคำถามและสมมติฐานแล้วควรให้ผู้เรียนฝึกคนนแหล่งต่างๆเช่นหนังสือตำราอินเตอร์เน็ตหรือไปสอบถามจากผู้รู้เป็นต้น
                        3. 8 ฝึกการวิจัยการวิจัยเป็นกระบวนการหาทำตอบที่จะช่วยให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ใหม่
                        3. 9 ฝึกเชื่อมโยงบูรณาการบูรณาการให้เห็นความเป็นทั้งหมดและเห็นตัวเองเมื่อผู้เรียนเรียนรู้อะไรมาแล้วควรให้ผู้เรียนเชื่อมโยงให้เห็นความเป็นทั้งหมดและเกิดการรู้ตัวเองตามความเป็นสัมพันธ์กับความเป็นทั้งหมดอย่างไรอันจะทำให้เกิดมิติทางจริยธรรมขึ้นช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การร่วมกันอย่างสันติ
                        3. 10 ฝึกการเขียนเรียบเรียงทางวิชาการหลังจากที่ได้เรียนรู้เรื่องใดแล้วควรให้ผู้เรียนฝึกเรียบเรียงความรู้ที่ได้การเรียบเรียงจะช่วยให้ความคิดประณีตขึ้นทำให้ต้องค้นคว้าหาหลักฐานที่มาของความรู้ให้ถี่ถ้วนแม่นย่าขึ้นการเรียบเรียงทางวิชาการเป็นวิธีการสำคัญในการพัฒนาปัญญาของตนและเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้อื่นในวงกว้างออกไป
            4. กระบวนการคิด โดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช
            ชัยอนันต์ สมุทวณิช (2542: 4-5) นักรัฐศาสตร์ และราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง และผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย นักคิดผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทย ซึ่งหันมาสนใจและพัฒนางานทางด้านการศึกษาอย่างจริงจัง ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องของการคิดไว้ว่าการคิดของคนเรามีหลายรูปแบบโดยท่านได้ยกตัวอย่างมา 4 แบบและได้อธิบายลักษณะของนักคิดทั้ง 4 แบบไว้ซึ่งผู้เขียนจะขอนำมาประยุกต์เป็นแนวทางในการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดของผู้เรียนได้ ดังนี้
                        4. 1 การคิดแบบนักวิเคราะห์ (analytical) ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนให้พัฒนาความสามารถในการคิดแบบนี้ได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนแสวงหาข้อเท็จจริง (fact) ดูตรรกะ (logic) ทิศทาง (direction) หาก (reason) และมุ่งแก้ปัญหา (Problem Solving)-ผู้เรียนให้พัฒนาความสามารถใน
                        4. 2 การคิดแบบรวบยอด (conceptuall) ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนให้พัฒนาความการคิดแบบนี้ได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนคิควาดภาพในสมองสร้างความคิดใหม่จากข้อมูลที่ถูกต้องแน่นอนมองข้อมูลเดิมในแง่มุมใหม่และส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าคิดกล้าทำ
                        4. 3 การคิดแบบโครงสร้าง (Structural thinking) การฝึกให้ผู้เรียนแยกแยศึกษาส่วนประกอบและเชื่อมโยงข้อมูลจัดเป็นโครงสร้างจะทำให้ผู้เรียนมีการคิดอย่างเป็นตัดสินว่าควรจะทำอะไรอย่างไรกผู้เรียนแยกแยะส่วนประกอบมการคิดอย่างเป็นระบบสาม718
                        4. 4 การคิดแบบผู้นำสังคม (Social thinking) การฝึกให้ผู้เรียนปฏิสัมพันธ์ตนเป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) ฝึกทักษะกระบวนการทำงานรวมกันเป็นไป พูดคุยกับผู้อื่นทำให้คานเป็นทีม (group prwccs) และฝึกให้คิด 3 ด้านที่เรียกว่า“ PM1 "คือด้านบวก (plus) ด้านลบ (mminus) และด้านที่ไม่บวกไม่ลบแต่เป็นด้านที่ไม่สนใจ (interesting)
            5. มิติการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย ทิศนา แขมมณี และคณะ
            ทิศนา แขมมณี และคณะ (2543) ได้ศึกษาค้นคว้าและจัดมิติของการคิดไว้ 6 ค้านคือ
                        5. 1 มิติด้านข้อมูลหรือเนื้อหาที่ใช้ในการคิดการคิดของบุคคลจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 2 ส่วนคือเนื้อหาที่ใช้ในการคิดและกระบวนการคิดคือต้องมีการคิดอะไรควบคู่ไปกับการคิดอย่างไรซึ่งเรื่องหรือข้อมูลที่คิดนั้นมีจำนวนมากเกินกว่าที่จะกำหนดได้อย่างไรก็ตามอาจจัดกลุ่มใหญ่ๆได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมและข้อมูลวิชาการ (โกวิทวรวิพัฒน์อ้างถึงในอุ่นตานพคุณ, 2530: 29-36)
                        5. 2 มิติด้านคุณสมบัติที่เอื้ออำนวยต่อการคิด ได้แก่ คุณสมบัติส่วนบุคคลซึ่งมีผลโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อการคิดและคุณภาพของการคิดเช่นใจกว้างความใฝ่รู้ความกระตือรือร้นความกล้าเสียงเป็นต้น
                        5. 3 มิติด้านทักษะการคิดหมายถึงกระบวนการหรือขั้นตอนที่บุคคลใช้ในการคิดซึ่งจัดได้เป็น
                        5.3 กลุ่มใหญ่คือทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน (basic thinking skills) ประกอบด้วยทักษะที่ใช้ในการสื่อสารเช่นทักษะการอ่านการพูดการเขียน ฯลฯ ทักษะการคิดที่เป็นแกน (core thinking skills) เช่นทักษะการสังเกตการเปรียบเทียบเชื่อมโยง ฯลฯ และทักษะการคิดขั้นสูง (higher order thinking skill) เช่นทักษะการนิยามการสร้างการสังเคราะห์การจัดระบบ ฯลฯ ทักษะการคิดขั้นสูงมักประกอบด้วยกระบวนการหรือขั้นตอนที่ซับซ้อนมากกว่าทักษะการคิดขั้นที่ต่ำกว่า
                        5. 4 มิติด้านลักษณะการคิด เป็นประเภทของการคิดที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งมีความเป็นนามธรรมสูงจำเป็นต้องมีการตีความให้เห็นเป็นรูปธรรมจึงจะสามารถเห็นกระบวนการหรือขั้นตอนการคิดชัดเจนขึ้นเช่นการคิดกว้างการคิดลึกซึ้งการคิดละเอียดเป็นต้น
                        5.5 มิติด้านกระบวนการคิดเป็นการคิด ที่ประกอบไปด้วยขั้นตอนหลักหลายขั้นตอนซึ่งจะน้ำผู้คิดไปสู่เป้าหมายเฉพาะของการคิดนั้นโดยขั้นตอนหลักเหล่านั้นจำเป็นต้องอาศัยทักษะการคิดย่อย ๆ จํานวนมากบ้างน้อยบ้างกระบวนการคิดแก้ปัญหากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณกระบวนการวิจัยเป็นต้น
                        5.6 มิติด้านการควบคุมและประเมินการติดของตน (Instar cognition) เป็นกระบวนการทบุคคลใช้ในการควบคุมกำกับการรู้คิดของตนเองมีผู้เรียกการคิดลักษณะนี้ว่าเป็นการคิดอย่างมียุทธศาสตร์ (Strategic thinking) ซึ่งครอบคลุมการวางแผนการควบคุมกำกับการกระทำของตนเองการตรวจสอบความก้าวหน้าและประเมินผล
            นอกจากการนำเสนอมีการคิดบ้างต้นแล้ว ทัศนา แขมมณ์ และคณะ (2543) ยังได้นำเสนอกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) ซึ่งเป็นผลจากการสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวของต่างประเทศและของประเทศไทยตั้งรายละเอียดต่อไปนี้
            กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
            จุดมุ่งหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
            เพื่อให้ได้ความคิดที่รอบคอบสมเหตุสมผล ผ่านการพิจารณาปัจจัยรอบด้านอย่างกว้างขวาลึกซึ้ง และผ่านการพิจารณากลั่นกรอง ไตร่ตรอง ทั้งทางด้านคุณ-โทษ และคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งนั้นมาแล้ว
            เกณฑ์ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
            ผู้ที่คิดอย่างมีวิจารณญาณจะมีความสามารถดังนี้
                        1. สามารถกำหนดเป้าหมายในการคิดอย่างถูกต้อง
                        2. สามารถระบุประเด็นในการคิดอย่างชัดเจน
                        3. สามารถประมวลข้อมูลทั้งทางด้านข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเกี่ยวกับที่คิดทั้งทางด้านกว้างทางลึกและไกล
                        4. สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและเลือกข้อมูลที่จะใช้ในการคิดได้
                        5. สามารถประเมินข้อมูลได้
                        6. สามารถใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูลและเสนอคำตอบทางเลือกที่สมเหตุสมผลที่
                        7. สามารถเลือกทางเลือกลงความเห็นในประเด็นที่คิดได้
            วิธีการหรือขั้นตอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
                        1. ตั้งเป้าหมายในการคิด
                        2. ระบุประเด็นในการคิด
                        3. ประมวลข้อมูลทั้งทางด้านข้อเท็จจริงและความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่คิดถึงกว้างลีกและไกล
                        4. วิเคราะห์จำแนกแยกแยะข้อมูลจัดหมวดหมู่ของข้อมูลและเลือกข้อมูลที่จะนาน
                        5. ประเมินข้อมูลที่จะใช้ในแง่ความถูกต้องความเพียงพอและความน่าเชื่อถือ
                        6. ใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูลเพื่อแสวงหาทางเลือก / คำตอบที่สมเหตุข้อมูลที่มี
                        7. เลือกทางเลือกที่เหมาสมโดยพิจารณาถึงผลที่จะตามมาและคุณค่าหรือความหมาแท้จริงของสิ่งนั้น
                        8. ชั่งน้ำหนักผลได้ผลเสียคุณโทษในระยะสั้นและระยะยาว
                        9. ไตร่ตรองทบทวนกลับไปมาให้รอบคอบ
                        10. ประเมินทางเลือกและลงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่คิด
            6. กระบวนการคิด โดย เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
            เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2542 ข: 3 – 4) ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา และนักคิดคนสำคัญของประเทศได้อภิปรายไว้ว่า หากเราต้องการให้ประเทศไทยพัฒนาต่อไปได้เหลอกง่ายและสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาให้คนไทย“ คิดยารคิดที่ถูกต้องและท่านได้เสนอแนะว่าควรมีการพัฒนาความสามารถในการคิดใน 10 มิติคนไทยโดยท่านได้ให้ความหมายของการคิดใน 10 มิติดังกล่าวไว้ซึ่งผู้เขียนอประยุกต์มาใช้เป็นรางในการจัดการเรียนการสอนสำหรับครูเพื่อใช้ในการพัฒนาผู้เรียนดังนี้
                        มิติที่ 1 ความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้เปิดให้ผู้เรียนท้าทายและโต้แย้งข้อสมมติฐานที่อยู่เบื้องหลังเหตุผลที่โยงความคิดเหล่านั้นเพื่อเปิดทางสู่แนวความคิดอื่น ๆ ที่อาจเป็นไปได้
                        มิติที่ 2 ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ (analytical thinking) พัฒนาให้เกิดขึ้นได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนสืบค้นข้อเท็จจริงเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างโดยการตีความ (interpretation) การจำแนกแยกแยะ (classification) และบรท์เทวามเข้าใจ (understanding) กับองค์ประกอบของสิ่งนั้นและองค์ประกอบอื่นๆที่สัมพันธ์กันรวมทั้งเชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (causal relationship) ที่ไม่ขัดแย้งกันระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นด้วยเหตุผลที่หนักแน่นน่าเชื่อถือ
                        มิติที่ 3 ความสามารถในการคิดเชิงสังเคราะห์ synthesis type thinking) และการฝึกให้ผู้เรียนรวมองค์ประกอบที่แยกส่วนกันมาหลอมรวมภายใต้โครงร่างใหม่อย่างเหมาะสมซึ่งจะช่วยพัฒนาผู้เรียนความสามารถของผู้เรียนในการคิดเชิงสังเคราะห์ได้
                        มิติที่ 4 ความสามารถในการคิดเชิงเปรียบเทียบ (comparative thinking) การฝึกให้ผู้เรียนค้นหาความเหมือนและหรือความแตกต่างขององค์ประกอบตั้งแต่ 2 องค์ประกอบขึ้นไปเพื่อใช้ในการอธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งบนมาตรการ (criteria) เคียวกันเป็นวิธีการช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดเชิงเปรียบเทียบได้ดี
                        มิติที่ 5 ความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์ (conceptual thinking) ผู้เรียนจะสามารถพัฒนาทักษะในการคิดแบบนี้ได้โดยการฝึกการนำข้อมูลทั้งหมดมาประสานกันและสร้างเป็นกรอบความคิดใหม่ขึ้นมาใช้ในการตีความข้อมูลอื่น ๆ ต่อไป
                        มิติที่ 6 ความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์ (creative thinking) ความสามารถด้านนี้การฝึกให้ผู้เรียนคิดออกนอกกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ทำให้ได้แนวทางใหม่ๆที่ไม่เคยมีมาก่อนพัฒนาได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนคิดออกนอก
                        มิติที่ 7 ความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ (applicative thinking) การคิดประเภทประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมากผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกนำสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิมไปใช้ประโยวัตถุประสงค์ใหม่และปรับสิ่งที่มีอยู่เดิมให้เข้ากับบุคคลสถานที่เวลาและเงื่อนไขใหม่ได้อย่างเหมาะ
                        มิติที่ 8 ความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic thinking) ความสามารถในด้านพัฒนาได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนกำหนดแนวทางที่เป็นรูปธรรมที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
                        มิติที่ 9 ความสามารถในการคิดเชิงบูรณาการ (integrative thinking) คือการฝึกให้ผู้เรียนเชื่อมโยงเรื่องในมุมต่าง ๆ เข้ากับเรื่องหลักๆได้อย่างเหมาะสม
                        มิติที่ 10 ความสามารถในการคิดเชิงอนาคต (Futuristic thinking) เป็นความสามารถในการคิดขั้นสูงซึ่งสามารถพัฒนาได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนคาดการณ์และประมาณการการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตโดยการใช้เหตุผลทางตรรกวิทยาสมมติฐานข้อมูลและความสัมพันธ์ต่างๆของในคดีตและปัจจุบันเพื่อคาดการณ์ทิศทางหรือขอบเขตทางเลียบที่เหมาะสมอีกทั้งมีพลวัตรสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
            7. กระบวนการสอนค่านิยมและจริยธรรม โดย โกวิท ประวาลพฤกษ์
            โกวิท ประวาลพฤกษ์ (2532) นักวิชาการคนสำคัญท่านหนึ่งในวงการศึกษาได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาค่านิยมและจริยธรรมไว้ว่าควรเริ่มต้นด้วยการพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมและดำเนินการสอนตามขั้นตอนดังนี้
                        7. 1 กำหนดพฤติกรรมทางจริยธรรมที่พึงปรารถนา
                        7. 2 เสนอตัวอย่างพฤติกรรมในปัจจุบัน
                        7. 3 ประเมินปัญหาเชิงจริยธรรม
                        7. 4 แลกเปลี่ยนผลการประเมิน
                        7. 5 ฝึกพฤติกรรมโดยมีผลสำเร็จ
                        7. 6 เพิ่มระดับความขัดแย้งให้ผู้เรียนประเมินตนเอง
                        7. 8 กระตุ้นให้ผู้เรียนยอมรับตัวเอง
            8. การจัดการเรียนการสอนเน้นกระบวนการโดยกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ
            กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอแนะการจัดการเรียนการด้วยกันดังนี้ (กรมวิชาการ 2534)
                        8. 1 ทักษะกระบวนการ (9 ชั้น)
                        8. 2 กระบวนการสร้างความคิดรวบยอดยกรม
                        8. 3 กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
                        8. 4 กระบวนการแก้ปัญหา
                        8. 5 กระบวนการสร้างความตระหนัก
                        8. 6 กระบวนการปฏิบัติ
                        8. 7 กระบวนการคณิตศาสตร์
                        8. 8 กระบวนการเรียนภาษา
                        8. 9 กระบวนการกลุ่ม
                        8. 10 กระบวนการสร้างเจตคติ
                        8. 11 กระบวนการสร้างค่านิยม
                        8. 12 กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ
            กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ (2534) ได้ให้ความหมายของการสอนที่เน้นกระบวนการไว้ว่าเป็นการสอนที่
                        ก. สอนให้ผู้เรียนสามารถทำตามขั้นตอนได้และรับรู้ขั้นตอนทั้งหมดจนสามารถนำไปใช้ได้จริงในสถานการณ์ใหม่ๆ
                        ข. สอนให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนจนเกิดทักษะสามารถนำไปใช้ได้อย่างอัตโนมัติการสอนกระบวนการจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้เงื่อนไขดังนี้
                                    1. ครูมีความเข้าใจและใช้กระบวนการนั้นอยู่
                                    2. ครูนำผู้เรียนผ่านขั้นตอนต่าง ๆของกระบวนการที่ละขั้นอย่างเข้าใจครบถ้วนครบวงจร
                                    3. ผู้เรียนเข้าใจและรับรู้ขั้นตอนของกระบวนการนั้น
                                    4. ผู้เรียนนำกระบวนการนั้นไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ได้
                                    5. ผู้เรียนใช้กระบวนการนั้นในชีวิตประจำวันจนเป็นนิสัย
                        จะเห็นได้ว่ากระบวนการเหล่านี้ผู้สอนจะต้องเป็นผู้วางแผนนำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ดังนั้นกระบวนการที่ใช้จะเป็นกระบวนการใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นสำคัญ
                        8.1 ทักษะกระบวนการ (9 ขัน)
                                    1. ตระหนักในปัญหาและความจําเป็น
                                    ครูยกสถานการณ์ตัวอย่างและกระตุ้นให้ผู้เรียนตระหนักในปัญหาความจะเป็นของษาหรือเห็นประโยชน์และความสำคัญของการศึกษาเรื่องนั้น ๆโดยครูอาจนำเสนอเป็นกรณีตัวอย่าง "ถานการณ์ที่สะท้อนให้เห็นปัญหาความขัดแย้งของเรื่องที่จะศึกษาโดยใช้สื่อประกอบเช่นออกศูนย์สถานการณ์จริงกรณีตัวอย่างสไลด์ ฯลฯ
                                    2. คิดวิเคราะห์วิจารณ์
                                    ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์วิจารณ์ตอบคำถามทำแบบฝึกหัดและให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล
                                    3. สร้างทางเลือกให้หลากหลาย
                                    ให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหส1กหลายโดยร่วมกันคิดแสบทางเลือกและอภิปรายข้อดีข้อเสียของทางเลือกนั้น
                                    4. ประเมินและเลือกทางเลือก
                                    ให้ผู้เรียนพิจารณาตัดสินเลือกแนวทางในการแก้ปัญหาและร่วมกันสร้างเกณฑ์โดยคำนึงถึงปัจจัยวิธีดำเนินการผลผลิตข้อจำกัดความเหมาะสมกาลเทศะเพื่อใช้ในการพิจารณาเลือกแนวทางการแก้ปัญหาซึ่งอาจใช้วิธีระดมพลังสมองอภิปรายศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ฯลฯ
                                     5. กำหนดและลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
                                    ให้ผู้เรียนวางแผนในการทำงานของตนเองหรือหลุ่มโดยอาจใช้ลำดับขั้นการดำเนินงานดังนี้
                                                5. 1 ศึกษาข้อมูลขั้นพื้นฐาน
                                                5. 2 กำหนดวัตถุประสงค์
                                                5. 3 กำหนดขั้นตอนการทำงาน
                                                5. 4 กำหนดผู้รับผิดชอบ (กรณีทำร่วมกันเป็นกลุ่ม)
                                                5. 5 กำหนดระยะเวลาการทำงาน
                                                5. 6 กำหนดวิธีการประเมิน
                                    6. ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
                                    ให้ผู้เรียนปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ด้วยความสมัครใจตั้งใจมีความกระตือรือร้นและเพลิดเพลินกับการทำงาน
                                    7. ประเมินระหว่างปฏิบัติ
                                    ให้ผู้เรียนสำรวจปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานโดยการซักถามอภิปรายแลกเปลยนความคิดเห็นมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามขั้นตอนและตามแผนงานที่กำหนดไว้โดยสรุปผลกทำงานแต่ละช่วงแล้วเสนอแนวทางการปรับปรุงการทำงานขั้นต่อไป
                                    8. ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
                                    ผู้เรียนนำผลที่ได้จากการประเมินในแต่ละขั้นตอนมาเป็นแนวทางในการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                                    9. ประเมินผลรวมเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ
                                    ผู้เรียนสรุปผลการดำเนินงานโดยการเปรียบเทียบผลงานกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดได้อื่น ๆซึ่งอาจเผยแพร่ขยายผลงานแก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจและภาคภูมิใจ
                        8. 2 กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
                                    1. สังเกต
                                    ให้ผู้เรียนรับรู้ข้อมูลและศึกษาด้วยวิธีการต่าง ๆโดยใช้สื่อประกอบเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดข้อกำหนดเฉพาะด้วยตนเอง
                                    2. จำแนกความแตกต่าง
                                    ให้ผู้เรียนบอกถึงความแตกต่างของสิ่งที่รับรู้และให้เหตุผลในความแตกต่างนั้น
                                    3. หาลักษณะร่วม
                                    ผู้เรียนมองเห็นความเหมือนในภาพรวมของสิ่งที่รับรู้ และสรุปเป็นวิธีการหลักการคำจำกัดความหรือนิยาม
                                    4. ระบุชื่อความคิดรวบยอด
                                    ผู้เรียนได้ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่รับรู้
                                    5. ทดสอบและนำไปใช้
                                    ผู้เรียนได้ทดลองทดสอบสังเกตทำแบบฝึกหัดปฏิบัติเพื่อประเมินความรู้
                        8. 3 กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
                                    กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นความสามารถทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความจำจนถึงขั้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าตามแนวคิดของ บลูม (Bloom) หรือแนวความคิดของกานเย่ (Gagne) ซึ่งเริ่มจากการเรียนรู้สัญลักษณ์ทางภาษาจนเชื่อมโยงเป็นความคิดรวบยอดเป็นกฎเกณฑ์และนำกฎเกณฑ์ไปใช้ผู้สอนควรพยายามใช้เทคนิคต่อไปนี้ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เป็นขั้นๆอาจจะเลือกใช้เทคนิคใดก่อนหลังก็ได้ขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ความพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนผ่านขั้นตอนย่อยทุกขั้นตอนดังนี้
                                    1. ขั้นสังเกต
                                    ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมรับรู้แบบปรนัยให้เกิดความเข้าใจได้ความคิดรวบยอดเชื่อมโยงของสิ่งต่าง ๆ สรุปเป็นใจความสำคัญครบถ้วนตรงตามหลักฐานข้อมูลความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ สรุปเป็นใจความสากล
                                    2. อธิบาย
                                    ให้ผู้เรียนตอบคำถามแสดงความคิดเห็นเชิงเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กำหนดยหลักการกฎเกณฑ์และอ้างหลักฐานข้อมูลประกอบให้น่าเชื่อถือ
                                    3. รับฟังให้
                                    ผู้เรียนได้ฟังความคิดเห็นคำวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อความคิดของตนโต้ตอบและแสดงความคิดเห็นของตนฝึกให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนความคิดเดิมของตนตามเหตุโดยไม่ใช้อารมณ์
                                    4. เชื่อมโยงความสัมพันธ์
                                    ให้ผู้เรียนได้เปรียบเทียบความแตกต่างและความคล้ายคลึงของสิ่งต่าง ๆให้สรุปจัดกลุ่มสิ่งที่เป็นพวกเดียวกันเชื่อมโยงเหตุการณ์เชิงสาเหตุและผลหากกฎเกณฑ์การเชื่อมโยงในลักษณะอุปมาอุปไมย
                                    5. วิจารณ์
                                    จัดกิจกรรมให้วิเคราะห์เหตุการณ์คำกล่าวแนวคิดหรือการกระทำแล้วให้จำแนกหาจุดเด่นจุดด้อยส่วนดีส่วนเสียส่วนสำคัญไม่สำคัญจากสิ่งนั้นด้วยการยกเหตุผลหลักการมาประกอบการวิจารณ์
                                    6. สรุป
                                    จัดกิจกรรมให้พิจารณาส่วนประกอบของการกระทำหรือข้อมูลต่าง ๆที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันแล้วให้สรุปผลอย่างตรงและถูกต้องตามหลักฐานข้อมูล
                        8. 4 กระบวนการแก้ปัญหา
                                    กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เกิดความคิด
                                    1. สังเกต
                                    ให้นักเรียนไปศึกษาข้อมูลรับรู้และทำความเข้าใจในปัญหาจนสามารถสรุปและตระหนักในปัญหานั้น
                                    2. วิเคราะห์
                                    ให้ผู้เรียนได้อภิปรายหรือแสดงความคิดเห็นเพื่อแยกแยะประเด็นปัญหาสภาพสาเหตุและลำดับความสำคัญของปัญหา
                                    3.สร้างทางเลือก
                                    ให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลายซึ่งอาจมีการทดลองค้นคว้าตรวจสอบเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการทำกิจกรรมกลุ่มและควรมีการกำหนดหน้าที่ในการทำงานให้แก่ผู้เรียนด้วย
                                    4. เก็บข้อมูลประเมินทางเลือก
                                    ผู้เรียนปฏิบัติตามแผนงานและบันทึกการปฏิบัติงานเพื่อรายงานและตรวจสอบความถูกต้องของทางเลือก
                                    5. สรุป
                                    ผู้เรียนสังเคราะห์ความรู้ด้วยตนเองซึ่งอาจจัดทำในรูป
                        8. 5 กระบวนการสร้างความตระหนัก
                        กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่กระตุ้นให้ผู้เรียนให้ความสนใจ เอาใจใส่ รับรู้ กระในปรากฎการณหรือพฤติกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นในสังคมทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมขั้นตอนกาวศเนินการมีดังนี้
                                    1. สังเกตให้ข้อมูลที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดความสนใจเอาใจใส่และเห็นคุณค่า
                                    2. วิจารณ์ให้ตัวอย่างสถานการณ์ประสบการณ์ตรงเพื่อให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์หาสาเหตุและผลดีผลเสียที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
                                    3. สรุปให้อภิปรายหาข้อมูลหรือหลักฐานมาสนับสนุนคุณค่าของสิ่งที่จะต้องตระหนักและวางเป้าหมายที่จะพัฒนาตนเองในเรื่องนั้น
                        8. 6 กระบวนการปฏิบัติ
                        กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนปฏิบัติจนเกิดทักษะมีขั้นตอนดังนี้
                                    1. สังเกตรับรู้
                                    ให้ผู้เรียนได้เห็นตัวอย่างหลากหลายจนเกิดความเข้าใจและสรุปความคิดรวบยอด
                                    2. ทำตามแบบ
                                    ทำตามตัวอย่างที่แสดงให้เห็นทีละขั้นตอนจากขั้นพื้นฐานไปสู่งานที่ซับซ้อนขึ้น
                                    3. ทำเองโดยไม่มีแบบ
                                    เป็นการให้ฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบด้วยตนเอง
                                    4. ฝึกให้ชำนาญ
                                    ให้ผู้เรียนปฏิบัติด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญหรือทำได้โดยอัตโนมัติซึ่งอาจเป็นงานชิ้นเดิมหรืองานที่คิดขึ้นใหม่
                        8. 7 กระบวนการคณิตศาสตร์
                        กระบวนการนี้มี 2 วิธีการคือ สอนทักษะทางคิดคำนวณและทักษะแก้ปัญหาโจทย์การสอนทักษะการคิดคำนวณมีขั้นตอนย่อยคือ สร้างความคิดรวบยอดของคำนอยางไปสู่กฎเกณฑ์ใหม่)
                        ส่วนการสอนทักษะแก้ปัญหาโจทย์มีขั้นตอนย่อยคือแปลโจทย์ในเข่งภาษาหาวิธีแก้บนโจทย์วางแผนปฏิบัติตามขั้นตอนและตรวจสอบคำถาม
                        8. 8 กระบวนการเรียนภาษา
                        กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งให้เกิดการพัฒนาทักษะทางภาษามีขั้นตอนดังนี้   
                                    1. ทำความเข้าใจสัญลักษณ์สือรูปภาพรูปแบบเครื่องหมายผู้เรียนรับรู้เกี่ยวกับความหมายของคำกลุ่มคำประโยคและถ้อยคำสำนวนต่างๆ
                                    2 สร้างความคิดรวบยอดผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์นำมาสู่ความเข้าใจและเกิดภาพรวมเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนด้วยตนเอง
                                    3. สื่อความหมายความคิดผู้เรียนถ่ายทอดทางภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้
                                    4. พัฒนาความสามารถผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามขั้นตอนคือความรู้ความจำความเข้าใจการนำไปใช้การวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินค่า
                        8. 9 กระบวนการกลุ่ม
                        กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันโดยเน้นกิจกรรมดังนี้
                                    1. มีผู้นำกลุ่มซึ่งอาจผลัดเปลี่ยนกัน
                                    2. วางแผนกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการ
                                    3. รับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกทุกคนบนพื้นฐานของเหตุผล
                                    4. แบ่งหน้าที่รับผิดชอบเมื่อมีการปฏิบัติ
                                    5. ติดตามผลการปฏิบัติและปรับปรุง
                                    6. ประเมินผลรวมและชื่นชมในผลงานของคณะ
                        8. 10 กระบวนการสร้างเจตคติ
                        กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่แทรกได้กับทุกเนื้อหาเน้นความรู้สึกที่ดีต่อกลุ่มที่เรียนอาจเป็นความคิดหลักการการกระทำเหตุการณ์สถานการณ์ ฯลฯ มีขั้นตอนดังนี้
                                    1.สังเกต
                                    ผู้เรียนพิจารณาข้อมูลเหตุการณ์การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการมีเจตคติที่ดีและเจติยศที่ไม่ดี
                                    2. วิเคราะห์
                                    ผู้เรียนพิจารณาผลที่จะเกิดขึ้นตามมา แยกเป็นการกระทำที่เหมาะสมได้ผลตามที่น่าพอใจ ละการกระทำที่ไม่เหมาะสมได้ผลที่ไม่น่าพอใจ
                                    3. สรุป
                                    ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลเป็นหลักการแนวคิดแนวปฏิบัติ
                        8. 11 กระบวนการสร้างค่านิยม
                        คุณค่าของค่านิยมด้วยตนเองมีขั้นตอนดังนี้กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเกิดการยอมรับและเห็น
                                    1. สังเกต ตระหนัก
                                    ผู้เรียนพิจารณาการกระทำที่เหมาะสมและการกระทำที่ไม่เหมาสมรับรู้ความหมายจำแนกการกระทำที่แตกต่างกันได้
                                    2. ประเมินเชิงเหตุผล
                                    ผู้เรียนใช้กระบวนการอภิปรายกลุ่มแสดงความคิดเห็นวิเคราะห์วิจารณ์การกระทำของตัวละครหรือบุคคลในสถานการณ์ต่าง ๆว่าเหมาะสมหรือไม่เพราะเหตุใด
                                    3. กำหนดค่านิยม
                                    ผู้เรียนแต่ละคนแสดงความเชื่อความพอใจในการกระทำที่ควรกระทำในสถานการ์ต่าง ๆ พร้อมเหตุผล
                                    4. วางแผนปฏิบัติ
                                    ผู้เรียนช่วยกันกำหนดแนวปฏิบัติในสถานการณ์จริงโดยมีครูร่วมรับทราบกติกาการกระทำและสำรวจสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะได้รับเมื่อกระทำดีแล้วเช่นการได้ประกาศชื่อให้เป็นที่ยอมรับ
                                    5. ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
                                    ครูให้การเสริมแรงระหว่างการปฏิบัติเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความชื่นชม ยินดี
                        8. 12 กระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ
                        กระบวนการนี้ใช้กับการเรียนเนื้อหาเชิงความรู้มีขั้นตอนดังนี้
                                    1. สังเกตตระหนัก
                                    ผู้เรียนพิจารณาข้อมูลสาระความรู้เพื่อสร้างความคิดรวบยอดตั้งคำถามตั้งข้อสังเกตทขอมูลเพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้และกำหนดเป็นวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหาคำตอบต่อไปสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำความเจ
                                    2. วางแผนปฏิบัติ
                                    ผู้เรียนนวัตถุประสงค์หรือค้าถามที่ทุกคนสนใจจะหาคำตอบมาวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม
                                    3. ลงมือปฏิบัติ
                                    ครูกำหนดให้สมาชิกในกลุ่มย่อย ๆได้แสวงหาคำตอบจากแหล่งความรู้ด้วยวิธีต่าง ๆเช่นค้นคว้าสัมภาษณ์ศึกษานอกสถานที่หาข้อมูลจากองค์กรในชุมชน ฯลฯ ตามแผนงานที่วางไว้
                                    4. พัฒนาความรู้ความเข้าใจ
                                    ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้มารายงานและอภิปรายเชิงแปลความตีความขยายความนำไปใช้วิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินค่า
                                    5. สรุป
                                    ผู้เรียนรวบรวมเป็นสาระที่ควรรู้บันทึกลงสมุดจะเห็นได้ว่ากระบวนการรวมทั้งรูปแบบการเรียนการสอนต่าง ๆ ดังได้เสนอไปแล้วข้างต้นมีจำนวนและความหลากหลายพอสมควรซึ่งในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกเป็นจำนวนมากผู้สอนจึงจึงพระหนักว่าศาสตร์ทางการสอนได้ให้แนวคิดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนไว้อย่างหลากหลายพอสมควรหากผู้สอนรู้จักแสวงหาศึกษาเรียนรู้และนำไปทดลองใช้จะสามารถช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมีชีวิตชีวาและมีความหลากหลายไม่จำเจอยู่กับวิธีการหรือกระบวนการเพียงไม่กี่วิธีซึ่งอาจทำให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย
สรุป
            การบูรณาการเป็นการนำศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกันเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกันหรือเกี่ยวข้องกันควรนำมาเชื่อมโยงกันเพื่อให้เรียนรู้อย่างมีความหมายลดความซ้ำซ้อนเชิงเนื้อหาวิชาแนวคิดสำคัญที่ผู้สอนจะนำมาใช้เป็นเทคนิคในการจัดกิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนได้นำข้อมูลหลากหลายที่เกิดจากการเรียนรู้ไปสัมพันธ์เชื่อมโยงก็คือแนวคิดเกี่ยวกับ“ การบูรณาการ” เหตุที่ต้องจัดให้มีการบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนคือในชีวิตของคนเรามเรื่องราวต่าง ๆ ที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกันไม่ได้แยกออกจากกันเป็นเรื่องๆเมื่อมีการบูรณาการเข้ากับชีวิตจริงโดยการเรียนรู้ในสิ่งที่ใกล้ตัวแล้วขยายกว้างออกไปผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นและเรียนรู้อย่างมีความหมายเปิดโยาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ความคิดความสามารถและทักษะที่หลากหลาย
ตรวจสอบและทบทวน
            ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้นการบูรณาการความรู้ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนขึ้นจากความรู้ความคิดและประสบการณ์ของตนหรือประยุกต์จากทฤษฎีและหลักการทั้งของไทยและต่างประเทศเพื่อการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในการคิดการเผชิญสถานการณ์การตัดสินใจและการแก้ปัญหาการพัฒนาทางด้านค่านิยมจริยธรรมเจตคติต่าง ๆการพัฒนาทางด้านการคิดการปฏิสัมพันธ์และการทำงานเป็นกลุ่มรวมทั้งการปฏิบัติและการแก้ปัญหาต่าง ๆรวมทั้งพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาพ. ศ. 2542