สรุปองค์ความรู้สัปดาห์ที่ 7


การบูรณาการความรู้
            I : การบูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge) การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ในการจัดเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated learning Management)  เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์โดยเชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติ
แนวการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการ
            การบูรณาการการเรียนรู้ คือ การเชื่อมโยงระหว่างสาขาวิชาต่าง ๆในหลักสูตร จะช่วยให้ผู้เรียนตระหนักว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้ มีประโยชน์และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ลักษณะการเรียนรู้จะจัดเป็นหน่วยการเรียนรู้หรือเป็นหัวเรื่อง
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
            เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตัวเอง
            การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เรียนรู้ โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลสื่อและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆโดยใช้กระบวนการต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และผู้เรียนมีโอกาสนำความไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น
            เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น
            ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของผู้สอนประการหนึ่ง คือ ผู้สอนเข้าใจว่าการจัดการเรียนการสอนแบบน้ต้องจัดโต๊ะเก้าอี้ให้ผู้เรียน ได้นั่งรวมกลุ่มกันโดยไม่เข้าใจว่าการนั่งรวมกลุ่มนั้นทำเพื่ออะไร ความเข้าใจที่
            เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
            ตามความหมายของการเรียนรู้ที่แท้จริง คือผู้เรียนต้องมีโอกาสนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปใช้ในการดำเนินชีวิต สิ่งที่เรียนรู้กับชีวิตจริงจึงต้องเป็นเรื่องเดียวกัน ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ความรู้ได้โดยสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนต้องแก้ปัญหาและนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้หรือนแสดงความรู้นั้นออกมาในลักษณะต่าง ๆ
การบูรณาการตามตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการศึกษา
            1. การบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนมีการบูรณาการ
            2. การบูรณาการงานบริการแก่สังคม การบริการวิชาการ
            3. การบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอน
การเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการ
            1. กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดย สาโรช บัวศรี
การสอนกระบวนการแก้ปัญหาไว้เป็นขั้นตอนดังนี้
                        1. ขั้นกำหนดปัญหา (ขั้นทุกข์) คือการให้ผู้เรียนระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข
                        2 ขั้นตั้งสมมติฐาน (ขั้นสมุทัย) คือการให้ผู้เรียนวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาตั้งสมมติฐาน
                        3. ขั้นทดลองและเก็บข้อมูล (ขั้นนิโรธ) คือการให้ผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานและเก็บรวบรวมข้อมูล
                        4.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล (ขั้นมรรค) คือการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุป
            2. กระบวนการกัลยาณมิตรโดยสุมน อมรวิวัฒน์
            สุมน อมรวิวัฒน์ (2524: 196 199) ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง สาขาการศึกษาคณะครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกิตติเมธีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช ได้อธิบายกระบวนการขยาณมิตรไว้ว่า เป็นกระบวนการประสานสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือ 1. ชีทางบรรเทาทุกข์ 2. ชีสุขเกษมศานต์กระบวนการกัลยาณมิตรใช้หลักการที่แล้วว่าเป็นหลักที่ช่วยให้คนพ้นทุกข์ได้คือหลักอริยสัจ 4  
            3. กระบวนการทางปัญญา โดย ประเวศ วะสี
            ประเวศ วะสี (2542) นักคิดคนสำคัญของประเทศไทยผู้มีบทบาทอย่างมากในการกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้นท่านได้เสนอกระบวนการทางปัญญาซึ่งควรฝึกฝนให้แก่ผู้เรียน
            4. กระบวนการคิด โดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช
            ชัยอนันต์ สมุทวณิช (2542: 4-5) นักรัฐศาสตร์ และราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง และผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย นักคิดผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทย ซึ่งหันมาสนใจและพัฒนางานทางด้านการศึกษาอย่างจริงจัง ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องของการคิดไว้ว่าการคิดของคนเรามีหลายรูปแบบโดยท่านได้ยกตัวอย่างมา 4 แบบ
            5. มิติการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย ทิศนา แขมมณี และคณะ
            ทิศนา แขมมณี และคณะ (2543) ได้ศึกษาค้นคว้าและจัดมิติของการคิดไว้ 6 ค้านคือ
                        5. 1 มิติด้านข้อมูลหรือเนื้อหา
                        5. 2 มิติด้านคุณสมบัติ
                        5. 3 มิติด้านทักษะการคิด
                        5.3 กลุ่มใหญ่คือทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน
                        5. 4 มิติด้านลักษณะการคิด
                        5.5 มิติด้านกระบวนการคิดเป็นการคิด
                        5.6 มิติด้านการควบคุมและประเมินการติดของ
            6. กระบวนการคิด โดย เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
            เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2542 ข: 3 – 4) ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา และนักคิดคนสำคัญของประเทศได้อภิปรายไว้ว่า หากเราต้องการให้ประเทศไทยพัฒนาต่อไปได้เหลอกง่ายและสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาให้คนไทย
            7. กระบวนการสอนค่านิยมและจริยธรรม โดย โกวิท ประวาลพฤกษ์
            โกวิท ประวาลพฤกษ์ (2532) นักวิชาการคนสำคัญท่านหนึ่งในวงการศึกษาได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาค่านิยมและจริยธรรมไว้ว่าควรเริ่มต้นด้วยการพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมและดำเนินการสอน
                        7. 1 กำหนดพฤติกรรมทางจริยธรรมที่พึงปรารถนา
                        7. 2 เสนอตัวอย่างพฤติกรรมในปัจจุบัน
                        7. 3 ประเมินปัญหาเชิงจริยธรรม
                        7. 4 แลกเปลี่ยนผลการประเมิน
                        7. 5 ฝึกพฤติกรรมโดยมีผลสำเร็จ
                        7. 6 เพิ่มระดับความขัดแย้งให้ผู้เรียนประเมินตนเอง
                        7. 8 กระตุ้นให้ผู้เรียนยอมรับตัวเอง
            8. การจัดการเรียนการสอนเน้นกระบวนการโดยกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ
            กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอแนะการจัดการเรียนการด้วยกันดังนี้ (กรมวิชาการ 2534)
                        8. 1 ทักษะกระบวนการ (9 ชั้น)
                        8. 2 กระบวนการสร้างความคิดรวบยอดยกรม
                        8. 3 กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
                        8. 4 กระบวนการแก้ปัญหา
                        8. 5 กระบวนการสร้างความตระหนัก
                        8. 6 กระบวนการปฏิบัติ
                        8. 7 กระบวนการคณิตศาสตร์
                        8. 8 กระบวนการเรียนภาษา
                        8. 9 กระบวนการกลุ่ม
                        8. 10 กระบวนการสร้างเจตคติ
                        8. 11 กระบวนการสร้างค่านิยม
                        8. 12 กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ