แนวการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ


กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ
 ความหมาย
                การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยการ
                     1.  ผสมผสานหลักสูตร – ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
                     2.  ผสมผสานกระบวนการสอน / กระบวนการเรียนรู้ / ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมอันดีงาม  โดยคำนึงถึง
                        -          ความแตกต่างระหว่างบุคคล
                        -          ความสามารถทางสติปัญญา
                การบูรณาการทางการสอนจะช่วยฝึกให้ผู้เรียนรู้จักนำความรู้ไปผสมผสานกัน   ฝึกให้รู้จักใช้ เหตุผลและการนำไปประยุกต์ใช้  เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
 เหตุผลในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ด้านจิตวิทยา
            ผู้เรียนได้มีโอกาสได้รับความรู้ที่หลากหลาย เกิดการนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
ด้านสังคมวิทยา
            ผู้เรียนต้องการทักษะจากหลายสาขาวิชาร่วมกัน จึงจะสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
ด้านบริหาร
            -          แก้ปัญหาด้านการขาดแคลนบุคลากร
            -          แก้ปัญหาความซ้ำซ้อนของเนื้อหาวิชา
            -          ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

แนวคิด / ทฤษฎี
กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ
            1.      ปรัชญาการศึกษาแบบ  Progressivism  ของ  John Dewey
            - การศึกษาคือชีวิต : คนต้องศึกษาตลอดชีวิต (ความรู้มากมายมหาศาล)

            -  เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
            - การเรียนโดยการแก้ปัญหา
            - ส่งเสริมร่วมมือการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
            - สร้างเสริมการอยู่ร่วมกันในวิถีประชาธิปไตย
              2.   ทฤษฎีการเรียนรู้ในด้าน  Cognitive  ที่ใช้  Constructivism  Approach
             หลักสำคัญของ  Constructivism  คือ ผู้เรียนต้องสร้างความรู้เอง  ครูเป็นผู้ช่วยโดยจัดหาข้อมูลข่าวสารที่มีความหมายให้แก่ผู้เรียน  หรือให้โอกาสผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง  และเป็นผู้ลงมือกระทำ
              3.   ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของ  Ausubel
            ทฤษฎีการเรียนรู้ของ  Ausubel  เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความเข้าใจและมีความหมาย   การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียน
              4.   การถ่ายโยงการเรียนรู้  (Transfer of Learning)
            การถ่ายโยงการเรียนรู้  หมายถึง  การนำสิ่งที่เรียนรู้แล้วไปใช้ในสถานการณ์ใหม่  การถ่ายโยงการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่สำคัญเพราะวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การเตรียมผู้เรียนให้สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ในอนาคตทั้งในด้านประกอบอาชีพ และการแก้ปัญหาต่าง ๆ
  ลักษณะสำคัญของการบูรณาการ
              การบูรณาการทำได้หลายระดับ  โดยเป็นการบูรณาการระหว่าง
§       ความรู้ของวิชาต่าง ๆ     (บูรณาการหลักสูตร)
§       ความรู้และกระบวนการเรียนรู้   (บูรณาการกระบวนการเรียนการสอน)
§       พัฒนาการทางความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ (จิตพิสัย)  เน้นทั้งความรู้ และ
                    เจตคติ  ค่านิยม  ความสนใจ  สุนทรียภาพ
§       ความรู้และการกระทำ  เน้นทั้งความรู้และทักษะพิสัย
§       สิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน
§       สิ่งที่เรียนในโรงเรียนต้องมีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิต สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น