การวางแผนจดการเรียนการสอนและการเรียนรู้


การวางแผนจัดการเรียนรู้การสอนและการเรียนรู้
            Joyce and Weil, (1996 : 334) อ้างว่า มีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยที่ชี้ให้เห็นว่า การสอนมุ่งเน้นการให้ความรู้ที่ลึกซึ้ง ช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกว่ามีบทบาทในการเรียน ทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจในการเรียนรู้และช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียน การเรียนการสอนโดยจัดสาระและวิธีการให้ผู้เรียนอย่างดีทั้งทางด้นเนื้อหา ความรู้ และการให้ผู้เรียนใช้เวลาเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด ผู้เรียนมีจิตใจจดจ่อกับสิ่งที่เรียนและช่วยให้ผู้เรียนถึง 80%  ประสบความสมเร็จในการเรียน
การเรียนการสอนโดยตรง
การเรียนการสอนโดยตรง ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ๆ 5 ขั้นตอนดังนี้
            ขั้นที่ 1 ขั้นนำ
1.1   ผู้สอนแจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียน และระดับการเรียนรู้หรือพฤติกรรมการเรียนรู้ที่คาดหวังแก่ผู้เรียน
1.2   ผู้สอนชี้แจงสาระของบทเรียน และความสัมพันธ์กับความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียนอย่างคร่าว ๆ
1.3   ผู้สอนชี้แจงกระบวนการเรียนรู้ และหน้าที่รับผิดชอบของผู้เรียนในการเรียนแต่ละขั้นตอน
ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอบทเรียน
            2.1 หากเป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระ ข้อความรู้ หรือมโนทัศน์ ผู้สอนควรกลั่นกรองและสกัดคุณสมบัติเฉพาะของมโนทัศน์เหล่านี้ และนำเสนออย่างชัดเจน
            2.2 ตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์ ก่อนให้ผู้เรียนลงมือฝึกปฏิบัติ หากผู้เรียนยังไม่เข้าใจ ต้องสอนซ่อมเสริมให้เข้าใจก่อน
            ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติตามแบบ
            ผู้สอนปฏิบัติให้ผู้เรียนดูเป็นตัวอย่าง ผู้เรียนปฏิบัติตาม ผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับให้การเสริมแรงหรือแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียน
            ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกปฏิบัติภายใต้การกำกับของผู้ชี้แนะ
            ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยผู้สอนคอยดูแลอยู่ห่าง ๆ ผู้สอนจะสามารถประเมินการเรียนรู้และความสามารถของผู้เรียน ได้จากความสำเร็จและความผิดพลาดของการปฏิบัติของผู้เรียน และช่วยเหลือผู้เรียน โดยให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียน แก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ
            ขั้นที่ 5 การฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ
            หลังจากที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามขั้นที่ 4 ได้๔กต้องประมาณ 85-90% แล้ว ผู้สอนควรปล่อยให้ผู้เรียนปฏิบัติต่อไปอย่างอิสระ เพื่อช่วยให้เกิดความชำนาญ และการเรียนรู้อยู่คงทน ผู้สอนไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลป้อนกลับในทันที สามารถให้ภายหลังได้ การฝึกในขั้นนี้ไม่ควรทำติดต่อกันในครั้งเดียว ควรมีการฝึกเป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยให้การเรียนรู้อยู่คงนานขึ้น
            ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนทางตรง
            การเรียนรู้การสอนแบบนี้ เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ตรงไปตรงมา ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งทางพุทธพิสัย และทักษะพิสัยได้เร็วและได้มากในเวลาจำกัด ไม่สับสน ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติตามความสามารถของตนจนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ทําให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียนและมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
            สรุป การสอนโดยตรงโดยทั่วไปมี3ขั้นตอน  ( http://www2.southes rhancock/theory.htm#D1) laun) ได้แก่
1. การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
 2. การนําเสนอข้อมูลใหม่
3. การเสนอแนะแนวทางปฎิบัติ ให้ข้อมูลย้อนกลับ และการประยุกต์ใช้
ขั้นที่ 1 การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
สร้างแรงจูงใจผู้เรียน ให้มีแรงจูงใจเพียงพอที่จะมีความปรารถนาที่จะเรียนรู้ มีส่วน การเรียนรู้ และมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติภาระงานที่ได้รับมอบหมายจนกระทั่งงานเสร็จสิ้น
ขั้นที่ 2 การนําเสนอข้อมูลใหม่ให้กับผู้เรียน
การอธิบาย พยายามใช้การปฏิสัมพันธ์และการป้อนคําถาม- ถามทีละขั้นตอน
การสาธิต การเรียนการสอนที่ซับซ้อน ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กําหนด ด้วยมีเครื่องมือ และคํานึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน
ตำรา ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า
แบบฝึกหัดสําหรับผู้เรียน การฝึกเขียนการจัดระบบระเบียบและการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ
โสตทัศนูปกรณ์ สร้างความน่าสนใจและแม่นยําในการนําเสนอข้อมูลใหม่ให้กับผู้เรียน
ขั้นที่ 3 การเสนอแนะแนวทางปฏิบัติให้ข้อมูลย้อนกลับ และการประยุกต์ใช้
สาระเบื้องต้นคือ การยืนยันความถูกต้องเพื่อความแน่ใจและการให้แนวคิดและข้อเสนอแนะ
ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะต้องทํางานเป็นรายบุคคล แม้ว่าการทํางานเป็นกลุ่มจะเป็นที่ยอมรับก็ตาม
โอกาสที่ผู้เรียนจะได้รับได้แก่: การตอบคําถาม การแก้ปัญหา การสร้างโครงสร้างต้น