การกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน


การกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน
            จุดมุ่งหมายมี 2 ลักษณะ คือ
            จุดมุ่งหมาย (goals) ที่มีลักษณะกว้างๆ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่ไม่สามารถวัด หรือสังเกตได้ทันที
            จุดมุ่งหมายที่มีลักษณะเฉพาะ สังเกตเห็นพฤติกรรมหรือการปฏิบัติของผู้เรียนได้ บางครั้งเรียกว่า จุดประสงค์การเรียนรู้
การเรียนจุดมุ่งหมายตามหลัก ABCD
A แทน A-Audience หมายถึง ผู้เรียนที่แสดงพฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายและกำหนดเวลา
B แทน B-Behavior หมายถึง พฤติกรรมที่คาดหวังจากผู้เรียนโดยเน้นพฤติกรรมที่สังเกตได้
C แทน C-Conditions หมายถึง สถานการณ์หรือเงื่อนไขที่ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติหรือ แสดงพฤติกรรมที่สามารถวัดได้
D แทน D-Degree หมายถึง ระดับหรือเกณฑ์การวัดที่กำหนดขึ้นมาให้ผู้เรียนปฏิบัติ
การเขียนจุดมุ่งหมายตามหลัก SMART
1.       Sensible & Specific จุดมุ่งหมายต้องเฉพาะเจาะจงชัดเจนจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน
2.       Measurable จุดมุ่งหมายต้องสามารถต้องสามารถวัดผลได้ ซึ่งช่วยให้ได้ข้อมูลว่าผลการดำเนินการเป็นอย่างไร
3.       Attainable & Assignable จุดมุ่งหมายต้องเป็นไปได้ และผู้เรียนหรือผู้ปฏิบัตินำไปปฏิบัติได้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
4.       Reasonable & Realistic จุดมุ่งหมายต้องมีความเป็นเหตุเป็นผลกันและเป็นไปได้จริง
5.       Time Available จุดมุ่งหมายต้องมีกำหนดเวลา เป็นไปได้ตามเวลา