หลักสูตรสหวิทยาการ
(Interdisciplinary Curriculum) พหุวิทยาการ (Multidisciplinary
Curriculum) และหลักสูตรบูรณาการ (Integrated Curriculum)
เพื่อให้การจัดทำหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
มีคุณภาพตามมาตรฐาน และเพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนในการจัดทำหลักสูตรสหวิทยาการ
(Interdisciplinary Curriculum) พหุวิทยาการ (Multidisciplinary
Curriculum) และหลักสูตรบูรณาการ (Integrated Curriculum) ซึ่งคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ได้ให้คำจำกัดความในการประชุมคณะอนุกรรมการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
ครั้งที่ 7/2549 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2549 ดังนี้
1.
หลักการในการกำหนดหลักสูตรพหุวิทยาการหรือสหวิทยาการ
พหุวิทยาการหรือสหวิทยาการ
คือการใช้ความรู้จากองค์ความรู้หลายสาขาวิชา หลายศาสตร์ หรือหลายอนุศาสตร์
หรือจากการปฏิบัติ มาผสมผสานใช้ในการเรียนการสอน การวิเคราะห์ วิจัย
และสังเคราะห์ขึ้นเป็นองค์ความรู้ใหม่ และพัฒนาเป็นศาสตร์ใหม่ขึ้น เพราะฉะนั้น
หลักสูตรพหุวิทยาการก็คือวิธีการที่นำเอาความรู้หลายศาสตร์
หรือหลายอนุศาสตร์ที่เข้ามาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และวิจัยจนกระทั่งผู้เรียนสามารถพัฒนาความรู้
องค์ความรู้เป็นศาสตร์ใหม่ขึ้นหรือเกิดอนุศาสตร์ใหม่ขึ้น
นอกจากนี้
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. 2549
ข้อ 4.4 ได้กำหนดลักษณะหลักสูตรแบบพหุวิทยาการ
เป็นการนำวิทยาศาสตร์ประยุกต์ไปใช้พัฒนาความรู้และทักษะเชิงปฏิบัติการเฉพาะ
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม การศึกษา
เคหการ และการดูแลสุขภาพ เพื่อสร้างความชำนาญเฉพาะทาง ตัวอย่างหลักสูตรที่เป็นพหุวิทยาการ เช่น
กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีทางการเกษตร เช่น เทคโนโลยีการผลิตพืช
เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ วนผลิตภัณฑ์
หรือกลุ่มวิชาเทคโนโลยีทางวิศวกรรมและอุตสาหกรรม เช่น เทคโนโลยีการพิมพ์
เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีคมนาคม เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างหลักสูตรที่ไม่ใช่พหุวิทยาการ
เช่น การวัดผลการศึกษา การวิจัยการศึกษา การศึกษาเพื่อการพัฒนา
จิตวิทยาการศึกษา จุลชีววิทยา
วิทยาการคอมพิวเตอร์
2.
การเสนอขออนุมัติเป็นหลักสูตรพหุวิทยาการหรือสหวิทยาการ คณะ/หลักสูตรต้องแสดงข้อมูล
จากการใช้ความรู้จากองค์ความรู้หลายสาขาวิชา หลายศาสตร์
หรือหลายอนุศาสตร์ หรือจากการปฏิบัติ มาผสมผสานใช้ในการเรียนการสอน การวิเคราะห์
วิจัย และสังเคราะห์ขึ้นเป็นองค์ความรู้ใหม่ และพัฒนาเป็นศาสตร์ใหม่ขึ้น เพื่อกำหนดลักษณะหลักสูตรว่าเป็นหลักสูตรพหุวิทยาการหรือสหวิทยาการให้ปรากฎในความสำคัญ
ปรัชญา วัตถุประสงค์
และกระบวนการเรียนการสอนในหลักสูตรที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่
เพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรของสภามหาวิทยาลัยพิจารณา แล้วเสนอสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้อนุมัติให้เป็นหลักสูตรพหุวิทยาการหรือสหวิทยาการ
ซึ่งจะทำให้อาจารย์ประจำหลักสูตรซ้ำกันได้ ตามหนังสือที่ ศธ 0506(2)/ว569 ลงวันที่
18 เมษายน 2549
3.
ขอให้คณะพิจารณาทบทวนหลักสูตรที่เสนอเป็นสหวิทยาการหรือพหุวิทยาการ เนื่องจากบาง
หลักสูตรไม่ใช่หลักสูตรพหุวิทยาการหรือสหวิทยาการ แต่เป็นศัพท์บัญญัติ
เช่นการใช้คำว่าศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาการ และวิทยา ตามเอกสารข้อ 5
(ตามเอกสารแนบ) และขอให้นำเสนอหลักการ ความสำคัญ ปรัชญา
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรและแสดงองค์ความรู้ใหม่ตามข้อ 1 ให้ชัดเจน ทั้งนี้
หากหลักสูตรที่เสนออยู่ในระหว่างการปรับปรุง ขอให้ดำเนินการกำหนดความเป็นสหวิทยาการในหลักสูตรที่กำลังปรับปรุง
ตามขั้นตอนข้อ 2
4.
ขั้นตอนการเสนอขออนุมัติหลักสูตรลักษณะดังกล่าว เมื่อคณะดำเนินการและส่งเอกสารครบถ้วน
แล้ว สำนักงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา จะเสนอคณะกรรมการวิชาการของมหาวิทยาลัย
คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรฯ
เสนอสภามหาวิทยาลัยอนุมัติ
และแจ้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามลำดับต่อไป