แบบการเรียนรู้



  รูปแบบการเรียนรู้ (learning style)
            ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางความคิดของมนุษย์ที่สำคัญนั้น นอกจากความเชื่อ และทัศนคติแล้ว ปัจจุบันนี้ในบริบทของ การจัดการศึกษา นักจิตวิทยา นักการศึกษา และนักวิจัยกำลังให้ความสนใจ และให้ความสำคัญมากขึ้นทุกที ต่อสิ่งที่เรียกว่า รูปแบบการคิด (cognitive style) และ รูปแบบการเรียนรู้ (learning style) ในฐานะที่เป็นปัจจัยทางจิตวิทยาสำคัญ ที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มสัมฤทธิผลทางการเรียนของผู้เรียนได้ ทั้งในการจัดการศึกษาในระดับโรงเรียน ระดับอุดมศึกษา และในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาวิชาชีพขององค์กรต่างๆ
             ความหมายของคำว่า "รูปแบบ (style)"
คำว่า "รูปแบบ (style)" ในทางจิตวิทยา หมายถึงลักษณะที่บุคคลมีอยู่หรือเป็นอยู่ หรือใช้ในตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม อย่างค่อนข้าง คงที่ ดังที่เรามักจะใช้ทับศัพท์ว่า "สไตล์" เช่น สไตล์การพูด สไตล์การทำงาน และสไตล์การแต่งตัว เป็นต้น ซึ่งก็หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของเราเป็นอยู่ หรือเราทำอยู่เป็นประจำ หรือค่อนข้างประจำ
            ความหมายของ รูปแบบการคิด(Cognitive style) และ รูปแบบการเรียนรู้(learning style)
รูปแบบการคิด (cognitive style) หมายถึง หนทางหรือวิธีการที่บุคคลชอบใช้ในการรับรู้ เก็บรวบรวม ประมวล ทำความเข้าใจ จดจำข่าวสารข้อมูลที่ได้รับ และใช้ในการแก้ปัญหา โดยรูปแบบการคิดของแต่ละบุคคลมีลักษณะค่อนข้างคงที่
            รูปแบบการเรียนรู้ (Learning style) หมายถึง ลักษณะทางกายภาพ ความคิด และความรู้สึก ที่บุคคลใช้ในการรับรู้ ตอบสนอง และมีปฎิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางการเรียนอย่างค่อนข้างคงที่ (Keefe, 1979 อ้างใน Hong & Suh, 1995)
            ดังนั้นรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ จึงเป็นลักษณะของการคิด และลักษณะของการเรียนที่บุคคลหนึ่งๆ ใช้หรือทำเป็นประจำ อย่างไรก็ตามรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ไม่ได้หมายถึง ตัวความสามารถโดยตรง แต่เป็นวิธีการที่บุคคล ใช้ความสามารถ ของตนที่มีอยู่ในการคิด และการเรียนรู้ ด้วยลักษณะใดลักษณะหนึ่ง มากกว่าอีกลักษณะหนึ่งหรือลักษณะอื่นๆที่ตนมีอยู่

ทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้
จำแนกตามพฤติกรรมที่แสดงในชั้นเรียนทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้   Learning Style
            จำแนกตามแบบการคิด(สภาพความคิดของบุคคล ที่มีผลมาจากสภาพแวดล้อมลักษณะทางกายภาพ ฯลฯ)
รูปแบบการเรียนรู้ จำแนกตามพฤติกรรมที่แสดงในชั้นเรียน เช่น
        ทฤษฎีของ Grasha & Reichman
            1. แบบแข่งขัน - ชอบเอาชนะเพื่อน
            2. แบบอิสระ - เชื่อมั่น
            3. แบบหลีกเลี่ยง - ไม่สนใจ
* อาจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีมหานคร
            1 รวมหน่วยต่าง ๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
            4. แบบพึ่งพา - อาจารย์และเพื่อน เป็นแหล่งความรู้
            5. แบบร่วมมือ - ร่วมมือแสดงความเห็น ทั้งในและนอกชั้นเรียน
            6. แบบมีส่วนร่วม - จะพยายามมีส่วนร่วมให้มากที่สุด ในกิจกรรมการเรียน (ในชั้นเรียน)แต่จะไม่สนใจกิจกรรมนอกหลักสูตรเลย
รูปแบบการเรียนรู้ จำแนกตามแบบการคิด เช่น
        ทฤษฎีของ วิทคิน และคณะ
            1. แบบพึ่งพาสภาพแวดล้อม (Field dependent)
            2. แบบไม่พึ่งพาสภาพแวดล้อม (Field independent)
แบบที่ 1 (Field dependent) แบบที่ 2 (Field independent)
            - มองภาพรวม - มองอย่างวิเคราะห์
            - อยู่ใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม - ไม่อยู่ใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
            - ต้องการแรงเสริมจากสังคม - เป็นตัวของตัวเอง
            - รับรู้ในเรื่องของมโนทัศน์ - ชอบทดสอบสมมติฐาน
            - ชอบใช้อวัจนภาษาในการสื่อสาร - ชอบความเป็นระบบ ยึดถือหลักการ
       ทฤษฎีของ คาร์ล จี จุง
แบ่งคนเป็น 2 แบบ
            1. พวกเก็บตัว (Introver)
            2. พวกแสดงตัว (Extrover)
       ทฤษฎีของ Kagan และคณะ แบ่งวิธีคิดของมนุษย์เป็น 3 ประเภท
            1. คิดแบบวิเคราะห์ Analytical Style รับรู้สิ่งเร้าในรูปของส่วนย่อยมากกว่าส่วนรวม นำส่วนย่อย
มาประกอบเป็นความนึกคิด
            2. คิดแบบโยงความสัมพันธ์ Relational Style พยายามโยงสิ่งต่าง ๆ ให้มาสัมพันธ์กัน
            3. แบบจำแนกประเภท Categorical Style จัดสิ่งเร้าเป็นประเภทตามความรู้หรือประสบการณ์ โดย
ไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสิ่งเร้านั้น
            1. คิดแบบวิเคราะห์ จะใช้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในภาพหรือสิ่งเร้านั้นเป็นเกณฑ์ เช่น รูปต่างเหมือน
กัน มีขนาดเท่ากัน นั่งเหมือนกัน ตาบอดเหมือนกัน ขาหักเหมือนกัน มีลายเหมือนกัน มีสีเหมือนกัน ทำด้วยวัสดุอย่างเดียวกัน
            2. คิดแบบโยงความสัมพันธ์ จะใช้เหตุผลเพื่อโยงความสัมพันธ์ระหว่างภาพต่าง ๆ ที่ปรากฏ เช่น
คนใช้ไม้บรรทัด แก้วน้ำใช้คู่กับขวด ผู้ชายเป็นสามาของผู้หญิง แจกันใช้วางบนโต๊ะ คนสองคนนี้เป็นพี่น้องกัน สวมกางเกงต้องคาดเข็มขัด
            3. คิดแบบจำแนกประเภท จะพยายามจัดภาพต่าง ๆ ให้เป็นพวกเดียวกัน เช่น เป็นของใช้เหมือน
กัน เป็นเครื่องมือวัดเหมือนกัน เป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกัน เป็นอาวุธเหมือนกัน เป็นเครื่องดื่เหมือนกัน เป็นอุปกรณ์กีฬาเหมือนกัน เป็นต้น
ทฤษฎีของ Honey & Mumford
แบ่งคนเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้
            รับรู้ประสบการณ์ใหม่   Pragmatist Activist
            นักปฏิบัติ นักกิจกรรม
            ประยุกต์สู่การปฏิบัติ พิจารณาไตร่ตรองTheorist Reflector
            นักทฤษฎี นักไตร่ตรอง นำไปสร้างเป็นทฤษฎี
สรุป
รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style) เป็นบุคลิกของนักศึกษาที่อธิบายว่า
            - นักศึกษาเรียนอย่างไรที่จะทำให้เข้าใจเนื้อหาวิชาได้ดีที่สุด
            - นักศึกษามีพฤติกรรมเฉพาะบุคคลอย่างไรเก็บตัว แสดงตัวรอบคอบ หุนหันพลันแล่นตัดสินใจด้วยญาณวิถี ตัดสินใจด้วยเหตุผล
            - นักศึกษามีความสามารถในการรับและคงไว้ซึ่งสิ่งที่เรียนอย่างไร
                        * เป็นยุทธวิธีที่นักศึกษาชอบใช้ในการเรียน
                        * เป็นลักษณะที่ปรากฏให้เห็นได้ว่า คนแต่ละคนเรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไร*