การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้


การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Creating the Environment for Learning)
            Marzano: (2012) ได้สรุปกลวิธีการการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพในการสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ไว้ดังตาราง
ตารางที่ 14 กลวิธีการการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
1) การกำหนดวัตถุประสงค์และให้ข้อมูลย้อนกลับ (Setting Objectives Feedback)
2) เสริมแรงและสร้างความยอมรับ(Reinforcing Effort and Providing Recognition)
3) การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperatives Learning)



ช่วยพัฒนาความเข้าใจของผู้เรียน
( Helping students Develop Understanding )
1)      ให้คำแนะนำ (Cues)
2)      ใช้คำถาม (Questions)
3)      ให้ความรู้มโนทัศน์ล่วงหน้า
(Advance Organizes)
4)      การแสดงออกโดยภาษากาย
(Nonlinguistic Representations)
5)       สรูปความและบดบันทึก
(Summarizing and Note taking)
6)      มอบหมายการบ้านและให้ปฏิบัติ (Assigning Homework and Providing Practice)
ช่วยขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ของผู้เรียน
(Help students Extend and Apply Knowledge)
1)      ระบุความเหมือนความแตกต่าง
(Identifying Similarities and Differences)
2)      สร้างและทดสอบสมมติฐาน
 (Generating and testing Hypotheses)


ตารางที่ 15 คำจำกัดความของกลยุทธ์การสอน
คำสำคัญ
ความหมาย
1) กำหนดวัตถุประสงค์และให้ข้อมูลย้อนกลับ (Setting Objectives Feedback)
การให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทิศทางในการเรียนรู้และเป้าหมายในการพัฒนาทักษะการปฏิบัติ
2) การเสริมแรงและสร้างการยอมรับ
(Reinforcing Flort and Providing Recognition)
การส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในเรื่อง
-ความสัมพันธ์ระหว่างความพยายามและความสำเร็จโดยมุ่งสร้างทัศนคติที่ดีและความเชื่อมั่นในการเรียนรู้
-สามารถให้การยอมรับและเข้าใจอย่างเป็นรูปธรรมหรือยกย่องในความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
3) การเรียนแบบร่วมมือ
(Cooperative Learning)
หมายถึง การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีโอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในการส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้
4) ให้คำแนะนำ, ใช้คำถามและมโนทัศน์ล่วงหน้า (Cues, Questions and Advance Organizes)
คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถจดจำ และจัดการกับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา
5) การแสดงออกโดยภาษากาย
(Nonlinguistic Representations)
หมายถึง การส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถนำเสนอและให้รายละเอียดในการแสดงถึงความรู้
6)สรุปความและจดบันทึก
(Summarizing and Note taking)
หมายถึง การส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและจัดการกับข้อมูลโดยการสรุปสาระสำคัญและข้อมูลสนับสนุน
7) มอบหมายงานและให้ปฏิบัติ
 (Assigning Homework and Providing Practice)
หมายถึง การให้โอกาสผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ, ทบทวนและประยุกต์ใช้ความรู้การสร้างเสริมให้นักเรียนได้เข้าถึงระดับของความเชี่ยวชาญในทักษะ หรือ กระบวนการที่คาดหวัง
8) ระบุความเหมือนความแตกต่าง
(Identifying Similarities and Differences
หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนเข้าใจและสามารถใช้ความรู้ กระบวนการทางปัญญาในการระบุหรือจำแนกสิ่งที่เหมือนและแตกต่าง
9) สร้างและทดสอบสมมติฐาน
(Generating and testingHypothescs)
หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมนักเรียนเข้าใจสามารถใช้ความรู้ และกระบวนการทางปัญญาในการสร้างและทดสอบสมมติฐาน
กลยุทธ์การสอนที่มีประสิทธิการสอนที่มีประสิทธิภาพตามแนวคิดของ Marzano
            ให้ชัดเจนตาการตั้งจุดมุ่งหมาย / จุดประสงค์ (Setting objectives)  แนวทางการตั้งจุดประสงค์มีดังนี้ 1) ตั้งรงค์ให้ชัดเจนตามเกณฑ์แต่ไม่ตายตัว 2)  สื่อสารจุดประสงค์ให้กับผู้เรียนและครอบครัวได้เข้าใจ 3) เชื่อมโยงจุดประสงค์การเรียนรู้กับสิ่งที่เรียนรู้เดิมและการเรียนรู้ใหม่ 4. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้ของตนเอง
            การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Providing Feedback) การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เกี่ยวกับประสงค์การเรียนรู้และนำไปสู่การพัฒนาการปฏิบัติและความเข้าใจ ซึ่งแนวทางการให้ข้อมูลย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพดังนี้ 1)  ข้อมูลย้อนกลับจะต้องมีความถูกต้องและละเอียดในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และเป็นประโยชน์ต่อไป 2) การให้ข้อมูลย้อนกลับควรคำนึงถึงเวลาที่เหมาะสมและจำเป็น 3) การให้ข้อมูลย้อนกลับเควรมีเกณฑ์อ้างอิงชัดเจน 4) ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลย้อนกลับ
            การให้การเสริมแรง (Reinforcing Effort) มีวิธีการดังนี้ 1) สอนนักเรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมแรงและผลสัมฤทธิ์ 2) แจ้งผู้เรียนให้ชัดเจนในวิธีการกระบวนการในการให้แรงเสริม 3) ถามผู้เรียนถึงผลที่เกิดจากการเสริมแรงสู่การบรรลุผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
            การให้การยอมรับ (Providing Recognition) มีวิธีการดังนี้ 1)  ส่งเสริมเป้าหมายมุ่งเน้นการเป็นผู้รอบรู้ 2) ให้การยกย่องสำหรับสิ่งที่เป็นไปตามความจาดหรือทั้งในด้านการปฏิบัติและพฤติกรรม 3) ใช้สัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมในการแสดงการยอมรับเป็นการให้รางวัล
            การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) มีวิธีการดังนี้ 1) ควรยึดหลักของการมีปฏิสัมพันธ์ทางบวกและการรับผิดชอบในความสำเร็จส่วนบุคคล 2) จัดเป็นกลุ่มเล็ก 3-5 คน 3) ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างสอดคล้องและเป็นระบบ
            การใช้การแนะนำและคำถาม (Cues and Questions) มีวิธีการดังนี้ 1) ใช้เฉพาะประเด็นที่สำคัญ 2) ให้คำแนะนำที่ชัดเจน 3) ถามคำถามเชิงอนุมาน 4) ถามคำถามเชิงวิเคราะห์
            การให้มโนทัศน์ล่วงหน้า (Advance Organizers) มีวิธีการดังนี้ 1) ใช้การอธิบายในการสร้างมโนไหนล่วงหน้า 2) ใช้การบรรยายในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า 3) ใช้สรุปภาพรวมในการสร้างมโนทัศน์สิวงหน้า
            การใช้ภาษากายแสดงออก(Nonlinguistic Representations) มีวิธีการดังนี้ถใช้กราฟิกในการ14อ 2) จัดกระทำหรือทำตัวแบบ 3) ใช้รูปแสดงความคิดนำเสนอ 4) สร้างรูปภาพ, สัญลักษณ์
            สรุปและจดบันทึก (Summarizing and note taking) มีวิธีการดังนี้ 1) สอนนักเรียนให้รู้จักวิธีบันทึกสรุปที่มีประสิทธิภาพ 2) ใช้แบบฟอร์มการสรุป 3) ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการบันทึกการสอนซึ่งกันและกัน
            การให้การบ้าน (Assigning Homework) มีวิธีการดังนี้ 1) พัฒนาและสื่อสารนโยบายการมอบหมายการบ้านของโรงเรียน 2) ออกแบบการบ้านที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ทางวิธีการ 3) ให้ข้อมูลย้อนกลับในงานที่มอบหมาย
            การให้ฝึกปฏิบัติ (Providing Practice) มีวิธีการดังนี้ 1) ต้องบอกถึงวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติอย่างชัดเจน 2) ออกแบบการปฏิบัติที่เจาะจงและเวลาเหมาะสม 3) ให้ทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหา
            การบอกความเหมือนและความแตกต่าง (Identifying Similarity) มีวิธีการดังนี้ 1) วิธีการบอกความเหมือนความแตกต่างที่หลากหลายวิธีแนะนำนักเรียนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการของการกำหนดความเหมือนความแตกต่าง 3) ให้คำแนะนำที่ช่วยให้นักเรียนกำหนดความเหมือนความแตกต่างได้
            การสร้างและทดสอบสมมติฐาน (Generating and testing Hypotheses) มีวิธีการดังนี้ 1) ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ในรูปแบบของการสร้างและทดสอบสมมติฐานที่หลากหลาย 2) การและให้นักเรียนอธิบายสมมติฐานและและข้อสรุป