การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน
สื่อการสอนคืออะไร
สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง
วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้
ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน
สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บ
และแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาทั้งยังมีเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ
คุณสมบัติของสื่อการสอน
สื่อการสอนมีคุณสมบัติพิเศษ
3 ประการ คือ
1.
สามารถจัดยึดประสบการณ์กิจกรรมและการกระทำต่าง ๆ ไว้ได้อย่างคงทนถาวร
ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ในอดีตหรือปัจจุบัน ทั้งในลักษณะของรูปภาพ เสียง
และสัญลักษณ์ต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ
2.
สามารถจัดแจงจัดการและปรุงแต่งประสบการณ์ต่าง ๆ
ให้ใช้ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนเพราะสื่อการสอนบางชนิด
สามารถใช้เทคนิคพิเศษเพื่อเอาชนะข้อจำกัดในด้านขนาด ระยะทาง เวลา
และความเป็นนามธรรมของประสบการณ์ตามธรรมชาติได้
3. สามารถแจกจ่ายและขยายของข่าวสารออกเป็นหลาย
ๆ ฉบับเพื่อเผยแพร่สู่คนจำนวนมาก และสามารถใช้ซ้ำ ๆ ได้หลาย ๆ ครั้ง
ทำให้สามารถแก้ปัญหาในด้านการเรียนการสอนต่าง ๆ
ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียนได้เป็นอย่างดี
คุณค่าของสื่อการสอน
คุณค่าของสื่อการสอน
จำแนกได้ 3 ด้าน คือ
1. คุณค่าด้านวิชาการ
1.1 ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง
1.2
ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่าไม่ใช้สื่อการสอน
1.3
ลักษณะที่เป็นรูปธรรมของสื่อการสอน ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของสิ่งต่าง ๆ
ได้กว้างขวางและเป็นแนวทางให้เข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
1.4 ส่วนเสริมด้านความคิด
และการแก้ปัญหา
1.5
ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ถูกต้อง และจำเรื่องราวได้มากและได้นาน
1.6 สื่อการสอนบางชนิด
ช่วยเร่งทักษะในการเรียนรู้ เช่น ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง เป็นต้น
2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
2.1 ทำให้เกิดความสนใจ
และต้องเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
2.2
ทำให้เกิดความคิดรวบยอดเป็นเพียงอย่างเดียว
2.3 เร้าความสนใจ
ทำให้เกิดความพึงพอใจ และยั่วยุให้กระทำกิจกรรมด้วยตนเอง
3.
คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา
3.1
ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้เร็วและมากขึ้น
3.2
ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ
3.3
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกันครั้งละหลาย ๆ คน
3.4 ช่วยขจัดปัญหาเรื่องเวลา สถานที่
ขนาด และระยะทาง
ประเภทของสื่อการสอน
ชอร์ส (Shorse. 1960 : 11)
ได้จำแนกสื่อการสอนตามแบบเป็นหมวดหมู่ดังนี้
1.สิ่งพิมพ์ (Printed Materials)
– หนังสือแบบเรียน (Text Books)
– หนังสืออุเทศก์ (Reference Books)
– หนังสืออ่านประกอบ (Reading Books)
– นิตยสารหรือวารสาร (Serials)
2. วัสดุกราฟิก
(Graphic
Materials)
– แผนภูมิ (Chats)
– แผนสถิติ (Graph)
– แผนภาพ (Diagrams)
– โปสเตอร์ (Poster)
– การ์ตูน (Cartoons)
3.
วัสดุและเครื่องฉาย (Projector
materials and Equipment)
– เครื่องฉายภาพนิ่ง (Still Picture Projector)
– เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว (Motion Picture Projector)
– เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
– ฟิล์มสไลด์ (Slides)
– ฟิล์มภาพยนตร์ (Films)
– แผ่นโปร่งใส (Transparancies)
4.วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission)
– เครื่องเล่นแผ่นเสียง (Disc Recording)
– เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder)
– เครื่องรับวิทยุ (Radio Receiver)
– เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
ทฤษฎีและหลักการเลือกสื่อการเรียนการสอนสอน
ปัจจุบันสื่อการสอนมีอยู่หลากหลายรูปแบบหลากหลายประเภท
การเลือกสื่อการสอนมีความสำคัญมากต่อกระบวนการเรียนการสอน
อย่างไรก็ตามในการเลือกสื่อการสอนพึงระลึกไว้เสมอว่า
“ไม่มีสื่อการสอนอันใดที่ใช้ได้ดีที่สุดในทุกสถานการณ์” ในการตัดสินใจเลือกใช้สื่อการสอนต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลายๆ
อย่างร่วมกัน ผู้ใช้สื่อไม่ควรยกเอาความสะดวก ความถนัด
หรือความพอใจส่วนตัวเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกสื่อการสอน
เพราะอาจเกิดผลเสียต่อกระบวนการเรียนการสอนได้
แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกสื่อการสอนก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีผู้ให้ความสนใจและให้คำแนะนำไว้หลากหลายมุมมอง
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
แนวคิดการเลือกสื่อการสอนของโรมิสซอว์สกี้
Romiszowski (1999)
ได้เสนอแนวทางอย่างง่ายในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนไว้ว่า
ในการเลือกสื่อการสอนนั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการเลือกสื่อที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณา
ปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่
1.วิธีการสอน (Instructional Method) การเลือกวิธีการสอนเป็นปัจจัยแรกที่ควบคุมการเลือกสื่อ
หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นสิ่งที่จำกัดทางเลือกของการใช้สื่อการสอนในการนำเสนอ
เช่น ถ้าเลือกใช้วิธีการสอนแบบอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกันระหว่าง
2.งานการเรียนรู้ (Learning Task) สิ่งที่มีอิทธิพลต่อทางเลือกในการเลือกสื่อการสอนอีกประการหนึ่งคือ
งานการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน
เพราะสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่จำกัดหรือควบคุมการเลือกวิธีการสอน ตัวอย่างเช่น
การฝึกอบรมผู้ตรวจการ หรือทักษะการบริหารงาน
3.ลักษณะของผู้เรียน (Learner Characteristics) ลักษณะพิเศษเฉพาะของผู้เรียนก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการเลือกสื่อการสอน
ตัวอย่างเช่น การสอนผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้า
โดยการใช้หนังสือหรือเอกสารเป็นสื่อการสอน จะเป็นสิ่งที่ยิ่งทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ
ตามมาในกระบวนการเรียนการสอน ผู้เรียนกลุ่มนี้ควรเรียนรู้จากสื่ออื่นๆ
ที่ทำการรับรู้และเรียนรู้ได้ง่ายกว่านั้น
4.ข้อจำกัดในทางปฏิบัติ (Practical Constrain) ข้อจำกัดในทางปฏิบัติในที่นี้หมายถึง
ข้อจำกัดทั้งทางด้านการจัดการ และทางด้านเศรษฐศาสตร์
ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทางเลือกในการเลือกใช้วิธีการสอนและสื่อการสอน เช่น
สถานที่ใช้สื่อการสอน สิ่งอำนวยความสะดวก ขนาดพื้นที่ งบประมาณ เป็นต้น
5.ผู้สอนหรือครู (Teacher) สื่อการสอนแต่ละชนิดไม่ว่าจะมีข้อดีอย่างไร
แต่อาจไม่ถูกนำไปใช้เพียงเพราะผู้สอนไม่มีทักษะในการใช้สื่อนั้นๆ
นอกจากประเด็นในเรื่องทักษะของผู้สอนแล้ว
ประเด็นในเรื่องทัศนคติของผู้สอนก็เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อการสอนเช่นกัน
แนวคิดการเลือกสื่อการสอนของเคมพ์และสเมลไล
Jerrold E. Kemp และ Don
C. Smelle (1989) เสนอว่า
นอกจากงานการเรียนรู้หรือสถานการณ์การเรียนรู้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่กำหนดถึงสื่อที่จะเลือกใช้แล้ว
สิ่งสำคัญประการต่อมาในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนคือ คุณลักษณะของสื่อ
ซึ่งผู้สอนควรศึกษาคุณลักษณะของสื่อแต่ละชนิดประกอบในการเลือกสื่อการสอนด้วย
คุณลักษณะของสื่อ (Media Attributes) หมายถึง
ศักยภาพของสื่อในการแสดงออกซึ่งลักษณะต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหว สี และเสียง
เป็นต้น
คุณลักษณะของสื่อที่สำคัญ
ได้แก่
1.การแสดงแทนด้วยภาพ เช่น ภาพถ่าย
ภาพกราฟฟิก
2.ปัจจัยทางด้านขนาด
เช่น การใช้/ไม่ใช้เครื่องฉายเพื่อขยายขนาด
3.ปัจจัยทางด้านสี เช่น สีสันต่างๆ
ขาว-ดำ 4.ปัจจัยทางด้านการเคลื่อนไหว เช่น
ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว
5.ปัจจัยทางด้านภาษา เช่น ข้อความ/ตัวอักษร
เสียงพูด 6.ความสัมพันธ์ของภาพและเสียง เช่น
ภาพที่มี/ไม่มีเสียงประกอบ
7.ปัจจัยทางด้านการจัดระเบียบข้อมูล
กำหนดให้ดูทีละภาพตามลำดับ หรือตามลำดับที่ผู้ชมเลือก
หลักการเลือกสื่อ
1.เลือกสื่อการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
ผู้สอนควรศึกษาถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่หลักสูตรกำหนดไว้
วัตถุประสงค์ในที่นี้หมายถึงวัตถุประสงค์เฉพาะในแต่ละส่วนของเนื้อหาย่อย
ไม่ใช่วัตถุประสงค์ในภาพรวมของหลักสูตร
2.เลือกสื่อการสอนที่ตรงกับลักษณะของเนื้อหาของบทเรียน เนื้อหาของบทเรียนอาจมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น
เป็นข้อความ เป็นแนวคิด เป็นภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว เป็นเสียง เป็นสี
ซึ่งการเลือกสื่อการสอนควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา
3.เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน ลักษณะเฉพาะตัวต่างๆ
ของผู้เรียนเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้สื่อการสอน
ในการเลือกสื่อการสอนต้องพิจารณาลักษณะต่างๆ ของผู้เรียน เช่น อายุ เพศ ความถนัด
ความสนใจ ระดับสติปัญญา วัฒนธรรม และประสบการณ์เดิม ตัวอย่างเช่น
การสอนผู้เรียนที่เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาควรใช้เป็นภาพการ์ตูนมีสีสันสดใส
4.เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับจำนวนของผู้เรียน
และกิจกรรมการเรียนการสอน
ในการสอนแต่ละครั้งจำนวนของผู้เรียนและกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนสอน
ในห้องก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาควบคู่กันในการใช้สื่อการสอน เช่น
การสอนผู้เรียนจำนวนมาก จำเป็นต้องใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย
ซึ่งสื่อการสอนที่นำมาใช้อาจเป็นเครื่องฉายต่าง ๆ และเครื่องเสียง
เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นและได้ยินอย่างทั่วถึง ส่วนการสอนผู้เรียนเป็นรายบุคคล
อาจเลือกใช้วิธีการสอนแบบค้นคว้า สื่อการสอนอาจเป็นหนังสือบทเรียนแบบโปรแกรม
หรือบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
5.เลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมในที่นี้อาจได้แก่ อาคาร สถานที่
ขนาดพื้นที่ แสง ไฟฟ้า เสียงรบกวน อุปกรณ์อำนวยความสะดวก หรือ บรรยากาศ
สิ่งเหล่านี้ควรนำมาประกอบการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอน
ตัวอย่างเช่นการสอนผู้เรียนจำนวนมากซึ่งควรจะใช้เครื่องฉายและเครื่องเสียง
6.เลือกสื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความสนใจ
ควรเลือกใช้สื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความสนใจผู้เรียนได้
ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องของ เสียง สีสัน รูปทรง ขนาด ตลอดจนการออกแบบและการผลิตด้วยความประณีต
สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้สื่อการสอนมีความน่าสนใจและดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้
7.เลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งาน
เก็บรักษา และบำรุงรักษาได้สะดวก
ในประเด็นสุดท้ายของการพิจารณา
ควรเลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งานได้สะดวก ไม่ยุ่งยาก
และหลังใช้งานควรเก็บรักษาได้ง่ายๆ ตลอดจนไม่ต้องใช้วิธีการบำรุงรักษาที่สลับซับซ้อนหรือมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง