การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed learning)
ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ทั่วโลกเต็มไปด้วยข่าวสารและข้อมูลต่างๆ
ที่ล้วนส่ง ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการตัดสินใจของผู้คนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ผู้ที่สามารถเข้าถึง และมีความแม่นตรงของข่าวสารและข้อมูลมากกว่า
ย่อมตัดสินใจในสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะ สมและถูกต้อง
การรับรู้ข่าวสารและข้อมูลเหล่านี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตบน
พื้นฐานของการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้ด้วยตนเอง
มีแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎีกลุ่มมานุษยนิยม (Humanism) ซึ่งมีความเชื่อเรื่องความเป็นอิสระ และความเป็นตัวของตัวเองของมนุษย์
ดังที่มีผู้กล่าวไว้ว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความดี มีความเป็นอิสระ
เป็นตัวของตัวเอง สามารถหาทางเลือกของตนเอง
มีศักยภาพและพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างไม่มีขีดจำกัด
มีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อผู้อื่น
ซึ่งเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับนักจิตวิทยามานุษยนิยม (Humanistic
Psychology) ที่ให้ควาสำคัญในฐานะที่ผู้เรียนเป็นปัจเจกบุคคล
และมีแนวคิดว่า มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพ และมีความโน้มเอียงที่จะใส่ใจ ใฝ่รู้
ขวนขวายเรียนรู้ด้วยตนเอง
มนุษย์สามารถรับผิดชอบพฤติกรรมของตนเองและถือว่าตนเองเป็นคนที่มีค่า
การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีกระบวนการ ดังต่อไปนี้
1.การประเมินความต้องการของตนเอง (Assessing Needs)
2.การกำหนดจุดมุ่งหมาย (Setting goals)
3.การกำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ (Specifying learning content) โดยกำหนดระดับความยากง่าย ชนิดของสิ่งที่ต้องการเรียน พิจารณาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการเรียน
ความต้องการความช่วยเหลือ แหล่งทรัพยากร ประสบการณ์ ที่จำเป็นในการเรียน
4.การจัดการในการเรียน โดยกำหนดปริมาณเวลาที่ต้องการให้อาจารย์สอน
ปริมาณเวลาที่ต้องการให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับผู้เรียน ปริมาณเวลาที่ต้องการให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
ปริมาณเวลาที่ต้องการให้กับกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองของแต่ละคน
โดยกำหนดกิจกรรมการเรียนตามประสบการณ์ที่ผ่านมา
พร้อมทั้งกำหนดว่ากิจกรรมควรสิ้นสุดเมื่อใด
5.การเลือกวิธีการเรียนและสื่อการเรียนการสอน อุปกรณ์การสอน เทคนิคการสอน
ทรัพยากรการเรียนรู้ที่ต้องใช้
6.การกำหนดวิธีการควบคุมสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ ทั้งสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
และทางด้านอารมณ์
7.การกำหนดวิธีการตรวจสอบตนเอง โดยกำหนดวิธีการรายงาน/บันทึกการสะท้อนตนเอง
จะใช้ reflective practitioner techniques แบบไหน การให้โอกาสได้ฝึกตัดสินใจ
การแก้ปัญหา และการกำหนดนโยบาย การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถ clarify
ideas ให้ชัดเจนขึ้น
8.การกำหนดขอบเขตบทบาทของผู้ช่วยเหลือ
9.การกำหนดวิธีการประเมินผลการเรียน โดยเลือกประเภทของการทดสอบ ลักษณะของการ
Feedback ที่จะใช้
วิธีการประเมินความถูกต้องของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการติดตามประเมินผล
รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
1.การทำสมุดบันทึกส่วนตัว เพื่อใช้บันทึกข้อมูล ความคิดเรื่องราวต่างๆ
ที่เราได้เรียนรู้หรือเกิดขึ้นในสมองของเรา สมุดนี้
จะช่วยเก็บสะสมความคิดทีละน้อยเข้าไว้ด้วยกันเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาเพิ่มเติมให้กว้างไกลออกไป
2.การกำหนดโครงการเรียนรู้รายบุคคล
ที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะเรียนรู้อย่างไร โดยพิจารณาว่าาความรู้ที่เราจะปสวงหานั้นช่วยให้เราถึงจุดประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
ทำให้เกิดความพึงพอใจ ความสนุกสนานที่จะเรียนหรือไม่
ประหยัดเงินและเวลามากน้อยเพียงใด
3.การทำสัญญาการเรียน เป็นข้อตกลงระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
โดยอยู่บนพื้นฐานความต้องการของผู้เรียนที่สอดคล้องกับเป้าหมายและหลักการของสถาบันการศึกษา
โดยกำหนดกิจกรรมการเรียนที่เหมาะสม
4.การสร้างห้องสมุดของตนเอง หมายถึงการรวบรวมรายชื่อ ข้อมูล
แหล่งความรู้ต่างๆ
ที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ตรงกับความสนใจเพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าต่อไป
5.การหาแหล่งความรู้ในชุมชน เช่นผู้รู้ ผู้ชำนาญในอาชีพต่างๆ ห้องสมุด สมาคม
สถานที่ราชการ ฯลฯ ซึ่งแหล่งความรู้เหล่านี้จะเป็นแหล่งสำคัญในการค้นคว้า
6.การหาเพื่อนร่วมเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กัน
7.การเรียนรู้จากการฝึกและปฏิบัติ
ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์
8. ลักษณะของผู้ที่มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง
9.มีความสมัครใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Voluntarily to Learn) มิได้เกิดจากการบังคับ แต่มีเจตนาที่จะเรียนด้วยความอยากรู้
ใช้ตนเองเป็นแหล่งข้อมูลของตนเอง
(Self Resourceful) นั่นคือผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าสิ่งที่ตนจะเรียนคืออะไร
รู้ว่าทักษะและข้อมูลที่ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้มีอะไรบ้าง สามารถกำหนดเป้าหมาย
วิธีการรวบรวมข้อมูลที่ต้องการ และวิธีการประเมินผลการเรียนรู้
ผู้เรียนต้องเป็นผู้จัดการการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ด้วยตนเอง (Manage of
Change) ผู้เรียนมีความตระหนักในความสามารถ สามารถตัดสินใจได้
มีการรับผิดชอบต่อหน้าที่และบทบาทในการเป็นผู้เรียนรู้ที่ดี
รู้
"วิธีการที่จะเรียน" (Know how to
Learn) นั่นคือ ผู้เรียนควรทราบขั้นตอนการเรียนรู้ของตนเอง
รู้ว่าเขาจะไปสู่จุดที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร
มีบุคลิกภาพเชิงบวก
มีแรงจูงใจ และการเรียนแบบร่วมมือกับเพื่อนหรือบุคคลอื่น ตลอดจนการให้ข้อมูล
(ปฐมนิเทศ) ในเชิงบวกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในการเรียน(Charismatic Organizational Player)
มีระบบการเรียนและการประยุกต์การเรียน
และ มีการชื่นชมและสนุกสนานกับกระบวนการเรียน (Responsible
Consumption)
มีการเรียนจากข้อผิดพลาดและความสำเร็จ
การประเมินตนเองและความเข้าใจถึงศักยภาพของตน(Feedback and
Reflection)
มีความพยายามในการหาวิธีการใหม่ๆ
ในการหาคำตอบ การประยุกต์ความรู้ที่ได้จากการเรียนไปใช้กับสถานการณ์ของแต่ละบุคคล
การหาโอกาสในการพัฒนา และค้นหาข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา(Seeking
and Applying)
มีการชี้แนะ
การอภิปรายในห้องเรียน
การแสดงความคิดเห็นส่วนตัวและการพยายามมีความเห็นที่แตกต่างไปจากผู้สอน (Assertive Learning Behavior)
มีการรวบรวมข้อมูลจากการได้ปฎิสัมพันธ์กับบุคคลและมีวิธีการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้
(Information Gathering)
สิ่งที่เป็นตัวกำหนดศักยภาพของการเรียนแบบ Self-Directed
Learning คือความสามารถและความตั้งใจของ
บุคคล นั่นคือ ผู้เรียนมีทางเลือกเกี่ยวกับทิศทางที่ต้องการไป
แต่สิ่งที่จะต้องมีควบคู่กันไปด้วยคือ ความรับผิดชอบและการยอมรับต่อสิ่งที่จะตามมา
จากความคิดและการกระทำของตนเอง
ผู้เรียนแบบ Self-Directed จะประสบความสำเร็จได้มักจะมีลักษณะที่มี Self-concept
ทางบวก พร้อมที่จะเรียนแบบ self-direction มีประสบการณ์
และมี styles การเรียนเป็นของตนเอง
โดยการเรียนแบบนี้จะเน้นที่ลักษณะของผู้เรียน (ปัจจัยภายใน)
ที่จะช่วยสร้างให้ผู้เรียนยอมรับความรับผิดชอบต่อความคิดและกระทำของตน
และจะให้ความสำคัญกับปัจจัยภายนอกที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถรับผิดชอบต่อการเรียนได้
ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกนี้
จะสามารถเห็นได้จากความต่อเนื่องในการเรียนรู้และสถานการณ์การเรียนที่เหมาะสม
ขณะที่ลักษณะบุคลิกของบุคคล การสอน
กระบวนการเรียนรู้ เป็นจุดเริ่มต้นของการทำความเข้าใจนั้น การเรียนแบบ Self-Directed บริบททางสังคมจะเป็นตัวกำหนดกิจกรรมการเรียน
หรือผลที่จะได้ เพื่อจะเข้าใจกิจกรรมการเรียนแบบ Self-Directed อย่างแท้จริง ทั้งนี้เราจะต้องตระหนักถึง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน
ผู้สอน แหล่งทรัพยากร และมิติทางสังคมด้วย
นอกจากนี้ Hiemstra ผู้ศึกษาถึงการเรียนรู้ด้วยตนเองมานานหลายทศวรรษ
ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า
ควรมีการทำงานวิจัยเพื่อศึกษาหารูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเองให้ละเอียดยิ่งขึ้น
หาวิธีในการนำ และหาวิธีการวัดคุณภาพของการเรียนด้วยวิธีนี้ให้ชัดเจนขึ้น
และศึกษาว่าควรจะกำหนดบทบาทของผู้สอนและหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างไรบ้าง
การเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากเพราะจะทำให้กลายเป็นคนที่ขยันแสวงหาความรู้ใส่ตัวเองและในสักวันความรู้ที่ได้มาอาจจะนำมาใช้ปราโยชน์ได้เมื่อมีความจำเป็น จึงอยากให้ทุกคนที่เข้ามาชมในบล็อกนี้ ขยันหาความรู้ด้วยตัวเองให้มากๆนะคะ จะคอยเป็นกำลังใจให้
เพราะการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสิ่งที่ไม่ยาก ถ้ามีความขยันหมั่นเพียร
โดยเฉพาะการนำเอาความรู้มาใส่ในบล็อกของตัวเองก็เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองเหมือนกันนะคะ
นอกจากนี้ยังเป็นการให้ความรู้แก่บุคคลอื่นที่เช้ามาชมในบล็อกของตัวเองด้วย การเรียนรู้ด้วยตนเองนั้น
มีวิธีการที่หลากหลายซึ่งขึ้นอยู่กับความสามรถของแต่ละบุคลล และถ้าหากใครที่มีความสนใจจะนำวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองที่นำเสนออยู่ข้างต้นนี้ไปใช้ก็ได้นะคะ